ข้อความต้นฉบับในหน้า
ฐานที่ 5 สุดลมหายใจเข้าออก คือกลางตัวตรงกับ
สะดือ แต่อยู่ภายใน
ฐานที่ ๗* ถอยหลังกลับขึ้นมาเหนือสะดือประมาณ
๒ นิ้วมือ ในกลางตัว (นึกขึงเส้นด้าย ๒ เส้นให้ตึง จาก
สะดือทะลุหลัง จากเอวซ้ายทะลุเอวขวา ตรงเหนือจุดตัด
ขึ้นไป ๒ นิ้วมือ คือ ฐานที่ ๗)
ขณะปฏิบัติธรรมให้นั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย
มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายจรดปลายนิ้วขี้ข้าง
ขวา ตั้งกายให้ตรง หลับตาเบา ๆ พอปิดสนิท ตั้งสติไม่ให้
เผลอ แล้วกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงกลมใส เหมือนดัง
เพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีรอยขีดข่วนคล้ายขนแมว
ดวงโตเท่าแก้วตาดำ (จัดเป็นอาโลกกสิณหรือกสิณแสงสว่าง)
ผู้หญิงให้กําหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายให้กำหนดเข้า
ปากช่องจมูกขวา เรียกว่าฐานที่ ๑ ให้บริกรรมภาวนา
ประคองใจกับดวงกลมใสนั้นว่า “สัมมา อะระหัง” ๓ ครั้ง
(จัดเป็นพุทธานุสสติ) แล้วจึงเลื่อนดวงนิมิตนั้นต่อไปตาม
*ฐานที่ ๗ นี้ อธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ว่า เป็นตำแหน่งที่เปรียบเสมือน
จุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย หรือ Center of Gravity และเป็นเสมือนจุดสมดุลของ
ใจ เมื่อใจเราตั้งไว้ตรงจุดนี้แล้ว จะเป็นจุดที่ได้ดุลที่สุด และถ้าเปรียบใจเหมือน
แว่นขยาย จุดนี้คือจุดโฟกัสของแว่นขยาย เมื่อเราเอาใจไปจรดที่จุดนี้ และวางใจ
ได้ถูกส่วนจริง ๆ ก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด
๓๕
www.kalyanamitra.org