การหยุดใจในปฏิบัติธรรม ยิ่งรู้จัก ยิ่งเคารพรักท่าน (ฉบับพิเศษ) หน้า 42
หน้าที่ 42 / 115

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาแสดงให้เห็นว่าการหยุดใจเป็นสิ่งสำคัญในปฏิบัติธรรมตามคำสอนของหลวงปู่ เมื่อใจหยุดได้เพียงชั่วกระพริบตาก็สามารถสร้างบุญใหญ่กว่าการสร้างโบสถ์หรือวิหาร การฝึกสมาธิจะนำไปสู่ความสุขที่เพิ่มขึ้น และการเข้าถึงธรรมกาย หลวงปู่เน้นย้ำว่าการหยุดนี้เป็นเส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน และเป็นส่วนที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม หากไม่สามารถหยุดได้จะไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

หัวข้อประเด็น

-การหยุดใจ
-การปฏิบัติธรรม
-สมถวิปัสสนา
-ความสุขและนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ได้ชื่อว่า ส่วนหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมให้ได้ผลนั้น หลวงปู่ท่านสอนไว้ว่า “เราต้องตั้งใจให้หยุด ใจของคน เรานั้นถ้าหยุดได้เพียงสักกระพริบตาเดียวเท่านั้น เราได้สร้างบุญใหญ่กุศลใหญ่ เราจะไปสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญสักร้อยหลัง ก็สู้บุญที่เกิดจากการบำเพ็ญ สมถวิปัสสนาไม่ได้ เมื่อเราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธ- ศาสนา พึงบำเพ็ญสมถวิปัสสนาทำใจให้มั่นคงดังนี้ ให้ใจ หยุด หยุดนี้เป็นตัวสำคัญนัก เพราะเป็นทางมรรคผล นิพพาน พวกที่ให้ทานรักษาศีลนั้นยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้ นิพพานนัก พอหยุดได้เท่านั้น ถูกคำสั่งสอนของพระ ศาสดาแล้ว...” (จากพระธรรมเทศนาเรื่องหลักการเจริญภาวนาสมถวิปัสสนากรรมฐาน) เมื่อใจเริ่มหยุด ความสุขก็จะเกิดขึ้น และเมื่อ ปฏิบัติต่อไปอย่างถูกวิธี ความสุขก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น ตรงตามวาระพระบาลีว่า “นตฺถิ สนฺติปร์ สุข์ สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่ง ไม่มี หลวงปู่ท่านสอนให้ฝึกปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นนี้ให้ เชี่ยวชาญเสียก่อน ให้หยุดได้เสียก่อน ท่านบอกว่า “...ถ้า ไม่หยุดจะถึงธรรมกายไม่ได้ ทำใจให้หยุดได้ก็เข้าถึง PO www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More