ข้อความต้นฉบับในหน้า
๓๖
ฐานต่าง ๆ จนถึงฐานที่ ๗ หากรู้จักที่ตั้งของฐานทั้ง ๗ ดีแล้ว
ในการทำสมาธิคราวต่อ ๆ ไป จะน้อมใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ ๗ เลยก็ได้ แล้วกำหนดบริกรรมภาวนาว่า
“สัมมา อะระหัง” และนึกบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วหรือ
พระพุทธรูปใส ทั้งบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิตนี้ เป็น
กุศโลบายเพื่อประคองใจให้หยุดนิ่ง ณ ฐานที่ตั้งนี้ เมื่อหยุด
นิ่งได้ถูกส่วนแล้ว ก็จะเห็นดวงกลมใสสว่างปรากฏขึ้นมา
จากกึ่งกลางดวงนิมิตนั้น จากนั้นให้เลิกบริกรรมภาวนา
ดวงที่ปรากฏขึ้นนี้ไม่ใช่นิมิตที่กำหนดขึ้น แต่เป็น
“ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่
หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน
เมื่อปฏิบัติธรรมจนเห็นดวงปฐมมรรคแล้ว ให้ตั้งใจ
ทำความเพียรโดยเอาใจจรดไว้ที่กลางดวงปฐมมรรคนั้น
ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจ ไม่
พากเพียรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดวงปฐมมรรคที่เพิ่งเข้าถึง
ใหม่ ๆ (หรือแม้กระทั่งธรรมะที่ละเอียดกว่าดวงปฐมมรรค
ก็ตาม) ก็จะหายไป ไม่สามารถรักษาไว้ได้
ดังที่ปรากฏอยู่ในคำสอนของหลวงปู่ว่า
“อาตาปี เพียรให้กลั่นกล้า ๆ ...เพียรไม่ย่อไม่ท้อ
ไม่ถอยทีเดียว เอาเป็นเอาตายทีเดียว เรียนกันจริง ต้องใช้
ความเพียรประกอบด้วยองค์สี่ทีเดียว องค์สี่นั้นอะไรบ้าง
www.kalyanamitra.org