ข้อความต้นฉบับในหน้า
79
สวดมนต์ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่
- ความสุขที่แท้จริงมีลักษณะอย่างไร ?
- ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ตรงไหน ?
- ความสุขที่แท้จริงนั้นจะเข้าถึงได้อย่างไร ?
เมื่อไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็น “ความจำเป็นอย่างยิ่ง” สำหรับชีวิตมนุษย์ เขาก็แสวงหา
ความสุขไปตาม “รสนิยม” เท่าที่ความรู้แจ้งในใจเขาจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่สมบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ “แสวงหา” เรื่อยไป เหมือนนกที่กระโดดจากกิ่งนี้ไปสู่กิ่งโน้น กระทั่งหมดลม
แล้วก็ตายไปฟรีๆ โดยไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย
ประสบการณ์ภายใน ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ได้สอนให้เรารู้จักกับ “ความสุขที่แท้
จริง” ที่มนุษย์ทั้งหลายแสวงหานั้น และเมื่อใดเราได้เข้าถึง “ธรรมกาย” เมื่อนั้นเรา ก็
จะค้นพบได้ด้วยตัวของเราเอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ธรรมกาย” เป็นที่รวมแห่งความสุข
ที่แท้จริง ที่มนุษย์ทั้งหลายพึงปรารถนา และกำลังแสวงหานั่นเอง....”
อารมณ์ดี อารมณ์สบาย
อารมณ์ดีและอารมณ์สบายจะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติธรรม การ
จะทำให้สติกับความสบายของเราเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องนั้น จงตั้งพรหมวิหารธรรมขึ้นมาในใจ
มีความรู้สึกเป็นมิตรและปรารถนาดีต่อทุกๆ คน ต่อเพื่อนสหธรรมิก ไม่ว่าเพื่อนสหธรรมิก
นั้นจะพลาดพลั้งหรือจะล่วงเกินเรา โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม เราต้องให้อภัย ไม่ถือสา
ไม่สนใจในการล่วงเกิน หรือข้อบกพร่อง พลาดพลั้งของเพื่อนสหธรรมิก
ให้รักษาอารมณ์ดีอารมณ์สบายของเราให้ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น ทั้งนั่ง
นอน ยืน เดิน มีความรู้สึกเป็นมิตรต่อทุกๆ คน มีความปรารถนาดีต่อทุกๆ คน แล้ว
อารมณ์ดีและอารมณ์สบายที่เรารดน้ำพรวนดินอย่างสม่ำเสมอในจิตในใจของเราทุกๆ วัน
ก็จะช่วยเกื้อหนุนในการประพฤติปฏิบัติธรรม ให้เราเข้าถึงธรรมะได้ง่าย เพราะฉะนั้นให้
รักษาอารมณ์ดีและอารมณ์สบายเอาไว้ให้ได้ตลอดเวลา
(๓๐ กรกฎาคม ๒๕๓๙)