ข้อความต้นฉบับในหน้า
92
สวดมนต์ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่
ภาพแสดงที่ตั้งจิตทั้ง ๓ ฐาน
ฐานที่ 9 ปากช่องจมูก หญิงข้างซ้าย
ฐานที่ ๒ เพลาตา
ชายข้างขวา
ฐานที่ จอมประสาท
ฐานที่ @) ช่องเพดาน
ฐานที่ @ ปากช่องลำคอ
ฐานที่ ๗) ศูนย์กลางกายที่ตั้งจิตถาวร
ฐานที่ 6 ศูนย์กลางกายระดับสะดือ
๒ นิ้วมือ
๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
ก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอนหรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา
พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป
๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้ว
หายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏ
ขึ้นใหม่อีก
สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา เพียงเพื่อเป็นอาภรณ์ประดับกาย หรือเพื่อเป็นพิธีการชนิด
หนึ่ง หรือผู้ที่ต้องการฝึกสมาธิเพียงเพื่อให้เกิดความสบายใจ จะได้เป็นการพักผ่อน หลังจากการ
ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจประจำวัน โดยไม่ปรารถนาจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ เพราะยังคิดอยู่ว่าการ
อยู่กับบุตรภรรยา การมีหน้ามีตาทางโลก การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสุขกว่าการเข้า
นิพพาน เสมือนทหารเกณฑ์ที่ไม่คิดจะเอาดีในราชการอีกต่อไป
ดังนั้น การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอเป็นปัจจัย ให้เกิดความสุขได้พอ
สมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวง
ปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต และอย่ากระทำความชั่วอีก เป็นอันมั่นใจได้ว่าถึงอย่างไรชาตินี้ ก็พอมีที่พึ่ง