อุปกิเลสของสมาธิ สวดมนต์ ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบท หน้า 68
หน้าที่ 68 / 97

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาว่าด้วยอุปกิเลสของสมาธิที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุสามรูป โดยพระองค์ได้อธิบายว่าอุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไป โดยได้ระบุถึง 11 ประการที่ทำให้สมาธิเสียหาย การเข้าใจอุปกิเลสจึงมีความสำคัญต่อการปฏิบัติสมาธิอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และแนะนำให้พิจารณาวิธีในการละอุปกิเลสเหล่านี้เพื่อให้เกิดสมาธิที่มั่นคง

หัวข้อประเด็น

-อุปกิเลสในสมาธิ
-วิจิกิจฉา
-การทำสมาธิ
-การเห็นแสงสว่าง
-ปัญหาที่เกิดจากอุปกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

68 สวดมนต์ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ อุปกิเลสของสมาธิ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่า ชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมือง โกสัมพี ณ ที่นั้น ภิกษุ ๓ รูป คือ พระอนุรุทธะ พระนันทิยะ และพระกิมพิกะ ได้กราบทูล พระพุทธองค์ว่า ข้าพระองค์ทั้งสามพยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่ แสงสว่างและรูปนั้นเห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น ดังต่อไปนี้ :- “อนุรุทธะทั้งหลาย (ตรัสแก่ภิกษุทั้งสามองค์ แต่ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก) แม้ เราเองครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และ เห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็หายไป เราก็เกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลส เหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป อุปกิเลสเหล่านี้ คือ ๑. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย ๒. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี ๓. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน ๔. ฉิมภิทัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว ๕. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี 5. ทุฏจุลละ ความไม่สงบกาย ความคะนองหยาบ ๗. อัจฉารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป ๔. อติลีนวิริยะ ความเพียรย่อหย่อนเกินไป ๙. อภิชัปปา ความอยาก ๑๐. นานัตตสัญญา ความนึกไปในสิ่งต่างๆ (เรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคย จดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ) ๑๑. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปจนเกินไป อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิ ของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปก็หายไป ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉา เป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More