สวดมนต์ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ สวดมนต์ ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบท หน้า 91
หน้าที่ 91 / 97

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้เสนอวิธีการสวดมนต์ที่มุ่งเน้นการเข้าถึง "ดวงธรรม" ซึ่งเป็นประตูสู่ความรู้และความสุข โดยแนะนำให้ทำอย่างสม่ำเสมอและมีความเป็นกลางในการฝึกฝน ไม่ใช้กำลังมากเกินไป ซึ่งสามารถทำได้ในทุกสถานที่และทุกกิจกรรม การระลึกถึง dmc.tv ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิมากขึ้น การปฏิบัตินี้มีความสำคัญในการพัฒนาชีวิตให้มั่นคงและมีความสุขได้ด้วยการเข้าถึงและเข้าใจดวงธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การสวดมนต์
-การเข้าถึงดวงธรรม
-การพัฒนาความสงบในจิตใจ
-แนวทางเจริญสมาธิ
-การมีสติและความเป็นกลาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สวดมนต์ฉบับธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ เสียดายให้วางอารมณ์สบายๆ แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิต มาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้าย มีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่งซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วนแล้ว จากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นได้ด้วย ตนเอง เป็นภาวะของดวงกลมที่ทั้งใสทั้งสว่าง ผุดซ้อนขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่ อย่างสม่ำเสมอ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่ หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิต หรือดวงปฐมมรรคสามารถทำได้ในทุกแห่งทุกที่ ทุกอิริยาบถ เพราะดวงธรรมนี้คือที่พึ่งที่ระลึกอันประเสริฐของมนุษย์ ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้น มิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำ ให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งดวงปฐมมรรคกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และ ความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของ ร่างกายก็ตามจะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น ๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มิให้เผลอจากบริกรรมภาวนาและ บริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวง นิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชา ธรรมกาย อาศัยการนึก “อาโลกกสิณ” คือกสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิด นิมิตเป็น ดวงสว่างแล้ว ค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต 'ประการใด 91
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More