การเดินธุดงค์เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม สุขแบบพระ Vol.1 หน้า 200
หน้าที่ 200 / 260

สรุปเนื้อหา

การเดินธุดงค์ถือเป็นการบำเพ็ญสมณธรรมที่ช่วยให้เกิดการสะสมศรัทธาและแรงบันดาลใจจากญาติโยมถึงแม้จะไม่พูดคุยหรือให้คําสอนโดยตรง ความสงบในขณะปฏิบัติการทำให้เกิดความเลื่อมใสในผู้คนที่พบเห็น เมื่อออกเดินทางโดยไม่รู้ว่ามีอาหารบิณฑบาตรหรือไม่ แต่เชื่อว่าโภคสัมปทาและศีลธรรมจะดึงดูดให้ญาติโยมออกมาใส่บาตร การทำเช่นนี้สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาและกระตุ้นให้ผู้คนอยากใกล้ชิดพุทธบุตรและเข้าใจธรรมมากขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-การเดินธุดงค์
-การบำเพ็ญสมณธรรม
-การสร้างศรัทธา
-การปฏิบัติธรรม
-การสร้างแรงบันดาลใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ท่านฝึกตนทนหิวบำเพ็ญตบะอย่างไร โดยผ่านการเดิน ธุดงค์ แสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรมอย่างนี้นะจ๊ะ และ ระหว่างที่เราเดินทางบำเพ็ญสมณธรรมไป เราก็จะได้มี โอกาสโปรดญาติโยม แม้ไม่ใช่ด้วยคําสอน แต่โปรดด้วย การกระทํา คือ เป็นตัวอย่างที่ดี ความสงบเสงี่ยมสง่างาม ที่เกิดจากการบำเพ็ญสมณธรรมในช่วงที่เดินธุดงค์นั่น แหละ ทำให้เกิดศรัทธาปสาทะขึ้นมาในใจของญาติโยม เห็นไหมจ๊ะ อะไรมันก็เกิดขึ้นได้ อย่างธุดงค์คราวนี้ ข้างหน้าเราไม่รู้ว่า จะมีอาหาร บิณฑบาตจากญาติโยมหรือไม่ เพราะไม่ได้แจ้งไปก่อนล่วง หน้าเอาว่าอดก็อดด้วยกัน อิ่มก็อิ่มด้วยกัน เอาศีลเอาธรรม เอา สีเลน โภคสัมปทา ที่เราได้บำเพ็ญนี่แหละเป็นเครื่อง ดึงดูดให้ญาติโยมออกจากบ้านแล้วมาใส่บาตรให้เรา เป็น กำลังแห่งการตรัสรู้ธรรมของเรา นี่อย่างน้อยเราไปก็อย่าง น้อยอย่างนี้ และถ้าเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแล้ว ใจของ โยมที่ขุ่นมัวก็จะเลื่อมขึ้น ใสขึ้น สิ่งที่จะตามมา คือ อยาก เข้าใกล้พุทธบุตร อยากฟังธรรม อยากปฏิบัติธรรม อยาก เป็นอย่างที่พุทธบุตรเป็นอย่างนี้ เห็นไหมจ๊ะว่า พระพุทธ ศาสนาจะถูกยกขึ้นมาอย่างนี้จะ นี่สำคัญมากนะจ๊ะ) ดังนั้น เมื่อลาสิกขาออกมาจึงไม่มีหลักในการดำาเนิน ชีวิตเลย เรื่องบาปบุญคุณโทษก็รู้บ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่ ๑๓๔ สุขแบบพระ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More