การภาวนาเพื่อหยุดนิ่งในใจ สุขแบบพระ Vol.1 หน้า 224
หน้าที่ 224 / 260

สรุปเนื้อหา

เริ่มต้นการภาวนาเพื่อให้ใจหยุดนิ่ง โดยเริ่มจากการบริกรรมคำภาวนา “สัมมา อะระหัง” และฝึกทำใจให้ใส ๆ จนกว่าจะหยุดนิ่ง เมื่อใจหยุดนิ่งแล้ว คำภาวนาจะลดละไปเอง และเราสามารถย้อนกลับมาภาวนาใหม่ได้เมื่อใจฟุ้งซ่าน การฝึกนี้ควรทำต่อไปเรื่อยๆ ในทุกอุณหภูมิและสภาวะอากาศ เพื่อค้นหาที่พึ่งที่แท้จริงภายใน ซึ่งจะช่วยให้เรามีหลุมหลบภัยในยามทุกข์ใจ โดยเลือกใช้อารมณ์เชิงบวกในการฝึกจิตให้ได้ผลสูงสุด.

หัวข้อประเด็น

-การบริกรรม
-การหยุดนิ่งของใจ
-การพัฒนาชีวิตภายใน
-การฝึกจิตในทุกอากาศ
-ที่พึ่งภายใน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ พร้อมกับประคองใจด้วยบริกรรม ภาวนาในใจเบาๆ ว่า “สัมมา อะระหัง สัมมา อะระหัง” อย่างสบายๆ ทำใจให้ใสๆ จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง พอใจหยุดนิ่งก็จะทิ้งคำภาวนาไปเอง โดยจะมี อาการคล้ายๆ กับเราลืมภาวนา สัมมา อะระหัง ไป หรือ เกิดความรู้สึกขึ้นมาในใจว่า ไม่อยากจะภาวนาต่อไป ถ้าเกิดอาการและความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องภาวนา "สัมมา อะระหัง" อีกแต่ว่าเมื่อใดใจของเราฟุ้งไปคิดเรื่อง อื่น เราจึงย้อนกลับมาภาวนา “สัมมา อะระหัง” ใหม่ ตรึก นึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ อย่างสบายๆ ด้วย ใจที่ชื่นบาน ทําอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง อย่าไปสนใจอากาศ มันจะร้อนอบอ้าวแค่ไหนก็แล้ว แต่ เราต้องฝึกให้ได้ในทุกสภาวะอากาศ ไม่ว่าจะฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ก็ฝึกกันเรื่อยไป ให้ใจหยุดนิ่งภายใน ถ้า เราไม่สนใจสิ่งภายนอก มันมีอยู่ก็เหมือนไม่มี หรือหนักก็ เป็นเบา เบาก็คลายได้ อย่างสบายๆ เพราะว่าเรามีที่พึ่ง ภายใน สิ่งที่เรากำลังฝึกฝนอยู่นี้ เพื่อตัวของเราเอง เป็นการ แสวงหาที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงภายใน ในยามที่เราประสบ ความทุกข์ทรมานของชีวิต ใจของเราจะมีหลุมหลบภัยอยู่ ภายใน มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก หรืออย่างน้อยก็ มีดวงธรรมใสๆ ติดอยู่ในกลางกาย ใจจะได้บรรเทาจาก ๑๕๘ สุขแบบพระ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More