ข้อความต้นฉบับในหน้า
เหมาะแก่การเจริญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง มีท้องนาและต้นหว้า
ใหญ่ร่มรื่น ปูสัมฤทธิ์นุ่งผ้าขาวนั่งสมาธิตั้งแต่หัวค่ำจนตลอดคืน
จนถึงบ่ายของอีกวันหนึ่งรวม 15 ชั่วโมง ผ่านทุกขเวทนาความ
เจ็บปวดจนจิตนิ่งเป็นสมาธิ สงบจนหมดห่วงเรื่องควาย และ
ไม่เคยพูดถึงควายอีกเลย
ต่อมา หลวงพ่อเจีย ขันติโก พาปูสัมฤทธิ์ไปอยู่ที่วัดหนอง
จังหวัดบุรีรัมย์ ปูสัมฤทธิ์ขอบวชเป็นตาผ้าขาวแค่นี้เพราะมีห่วง
และลูกเมียไม่ให้บวช หลวงพ่อเงียบอกว่า “แค่นี้ก็ได้”
วันหนึ่ง หลวงพ่อตรีคูณ จิตตปัญโญ วัดหนองม่วงหรือ วัด
ปาประโคนชัย เรียกปูสัมฤทธิ์เข้าไปกราบและถามว่า “ทำไมไม่
บวช?” ปูตอบว่า “ลูกเมียไม่ให้บวช” ท่านจึงถามว่า “แล้วลูก
เมียไม่ให้เราแก่ ไมให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้หรือ สงสัยว่าลูกเมีย
ช่วยแก่ ช่วยเจ็บ ช่วยตายได้นะ"
ปูสัมฤทธิ์ฟังแล้วเงียบและเอาถ้อยคำนี้ไปตรองดู เช้า วัน
รุ่งขึ้น ปูเดินมาหาหลวงพ่อเจีย ขันติโก บอกว่า “ผมขอบวช”
หลวงพ่อเจีย แกล้งถามว่า “ก็ลูกเมียไม่ให้บวชไม่ใช่หรือ?” ปูตอบ
ว่า “ไม่ให้บวช ผมก็จะบวช เพราะลูกเมียไม่ได้มาตายแทนด้วย”
จากนั้น ปูสัมฤทธิ์เริ่มท่องคำขอบวช และไปบวชที่วัด
บูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ บ้านเดิม ในปี พ.ศ. 2526
เพราะถนนมิตรภาพทำให้การเดินทางจากบุรีรัมย์ไปสุรินทร์
สะดวกกว่าการเดินทางใน
บุรีรัมย์ ปูสัมฤทธิ์ ทันได้เป็น
นาคองค์สุดท้ายของหลวงปู่
ดุลย์ อตุโล พระเกจิอาจารย์
แห่งภาคอีสาน ผู้เป็นพระ
อุปัชฌาย์บวชให้
วันนั้น เป็นวันอัศจรรย์
เกิดข่าวใหญ่เป็นที่โจษจัน
ของชาวบ้านในละแวกนั้นกัน
ใหญ่โตเรื่องที่ปูสัมฤทธิ์ออก
จากเหย้าเรือน ตัดใจจาก
บุตรภรรยา และตั้งต้นชีวิต
ใหม่ในเพศสมณะเมื่อมีอายุได้
โบสถ์วัดบูรพาราม
อ.เมือง จ.สุรินทร์
75 ปีเหมือนภิกษุที่เพิ่งออกบวชในวัยหนุ่ม และปฏิบัติสมณกิจ
อย่างสมภาคภูมิของเพศบรรพชิตทุกประการ
เมื่อบวชแล้ว หลวงปูสัมฤทธิ์ สังวโร ออกแสวงหาครูบา
อาจารย์เพื่อเรียนรู้หลักปฏิบัติกรรมฐาน และนั่งรถโดยสาร
จากอีสานใต้สู่อีสานเหนือมุ่งสู่จังหวัดสกลนคร ฝึกสมาธิอย่าง
จริงจังเป็นเวลา 4 ปี ชีวิตส่วนใหญ่ของท่านอยู่ตามป่าเขา
ลำเนาไพร มีฉันบ้าง ไม่มีฉันบ้าง แต่ท่านก็ไม่ได้ใส่ใจเพราะมุ่ง
10
case study
11
กฎแห่งกรรม