การบริหารเงินและความสัมพันธ์กับเพื่อน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองคน ครองงาน หน้า 15
หน้าที่ 15 / 109

สรุปเนื้อหา

การยืมเงินระหว่างเพื่อนอาจสร้างความลังเลใจและความกังวลใจ บทความนี้เสนอแนวทางในการคิดเกี่ยวกับเงินที่ยืมไป โดยยกตัวอย่างการให้และการยืมที่สามารถสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่าย การเตือนใจก่อนที่จะให้เงิน ว่าต้องมั่นใจว่าส่วนที่ให้ไปไม่นำไปสู่ความเดือดร้อนในอนาคต หากคืนมาเป็นลาภลอยก็ถือว่าดี แต่หากไม่คืนต้องตัดใจโดยไม่เดือดร้อนมากเกินไป ท้ายที่สุด การเข้าใจในวิธีจัดการความรู้สึกเกี่ยวกับการยืมเงินจะช่วยให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การยืมเงิน
-ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน
-การบริหารเงิน
-การจัดการความรู้สึก
-แนวทางในการถามคืนเงิน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองคน-ครองงาน ๔. เงินยืม เงินลืม ไม่กล้าทวง เพื่อนขอยืมเงินไปแล้วไม่คืน จะลืมจริงๆ หรือแกล้งลืมก็ไม่รู้ไม่ กล้าทวง กลัวเพื่อนจะอาย แต่ใจก็ยังนึกเสียดายเงิน นั้นอยู่ ถือว่าการเสียดายนี้เป็นการโลภหรือไม่ ? ไม่ใช่โลภ เขามาขอยืมเงินเราไป ถึงเวลาไม่เอามาคืน เราก็ ต้องไปทวง ชนิดหนึ่ง เมื่อไม่ทวงก็กลายเป็นลังเล ความลังเลจัดเป็นโมหะ เรื่องเงินๆ ทองๆ นี่อยากจะเตือน เงินของเราถ้าควักออก จากกระเป๋าแล้วต้องถือว่าให้ เราจะควักให้ใครมากแค่ไหนต้องคิด คำนวณแล้วว่า เงินส่วนนั้นแม้ไม่ได้คืน ก็ไม่เดือดร้อน ถ้าเป็นส่วนที่ เดือดร้อนต้องไม่ให้ ให้เฉพาะส่วนที่ไม่เดือดร้อน ถ้าเขาเอามาคืนก็ ถือว่าเป็นลาภลอย คิดอย่างนี้แล้วจะสบายใจทั้งสองฝ่ายนะ หลวงพ่อแต่ไหนแต่ไรมาก็ทำอย่างนี้ ให้เงินใครไปแล้วก็ ตัดขาดออกจากใจ คืนไม่คืนก็ช่าง คิดอย่างนี้สบายใจดี ห ล ว ง พ่ อ 15 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More