การครองคน-ครองงาน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองคน ครองงาน หน้า 24
หน้าที่ 24 / 109

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยเน้นว่าทั้งสองฝ่ายควรมีคุณธรรมและเข้าใจกัน โดยเฉพาะการให้เกียรติและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน หากต่างฝ่ายต่างมีความตั้งใจและมีน้ำใจในการทำงาน จะสามารถลดปัญหาความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีข้อพึงปฏิบัติ 4 ข้อสำหรับทั้งลูกจ้างและนายจ้างที่ควรปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบและรักใคร่ระหว่างกัน

หัวข้อประเด็น

-การทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
-คุณธรรมในที่ทำงาน
-การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
-ความสำคัญของการทำงานร่วมกัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองคน-ครองงาน ทำงานทั้งๆ ที่ลูกจ้างเขาทำเต็มที่ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน แต่ถึงคราวจะ ยกย่องจะให้ตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ กลับมีการเล่นเส้นเล่นสาย เอา ลูกเอาหลานตัวเองขึ้นมา โดยไม่คำนึงถึงน้ำใจกันบ้าง หรือไม่คำนึงถึง ฝีมือกันเลย เรามีการกระทำอย่างนั้นไหม ถ้าไม่มีละก็ แสดงว่าเรา ได้ทำหน้าที่ของนายจ้างอย่างสมบูรณ์แล้ว ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายสำรวจตรวจสอบตัวเองกันอย่างเป็นธรรมเช่น นี้ ไม่ช้าก็กลับคืนเข้าหากันได้เอง เรื่องที่จะกระทบกระทั่งรุนแรงจน เดินขบวนก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าจะเขียนเป็นแผนภูมิขึ้นมา เรา ก็ได้อย่างนี้คือ ฝ่ายลูกจ้างก็ต้องเต็มใจ คือมี ฉันทะ นั่นเองฝ่ายนายจ้างก็ต้อง มีเมตตา แล้วเมื่อฝ่ายลูกจ้างเขามีข้อที่ ๒ คือ แข็งใจทำ ซึ่งทางพระ เรียก วิริยะ นายจ้างก็ต้องมีกรุณา จัดสวัสดิการเต็มที่ พอถึงข้อที่ ๓ เมื่อลูกจ้างตั้งใจทำอย่างดีที่สุดเลย ภาษาพระ ใช้คำว่า จิตตะ นายจ้างก็ต้องมีน้ำใจให้กันเต็มที่ ส่งเสริมสนับสนุนกัน เต็มที่ คือมีมุทิตา ข้อที่ ๔ สุดท้ายยิ่งลูกจ้างเขารู้จักไตร่ตรองเข้าใจทำ ภาษาพระ เรียกว่า วิมังสา นายจ้างก็ต้องมีอุเบกขา คือให้ความเป็นธรรมให้เต็มที่ ถ้าเราทำกันอย่างนี้ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่ายแล้วล่ะก็ รับรองได้ว่า การเดินขบวนประท้วงไม่มีเลย มีแต่หันหน้ามาคุยกัน แล้วจะรักกัน ข้อพึงปฏิบัติ ๔ ข้อ สำหรับลูกจ้าง ดังกล่าวข้างต้น คือคุณธรรมที่มีชื่อว่า “อิทธิบาท ๔” ส่วนข้อพึงปฏิบัติสำหรับนายจ้าง ๔ ข้อ ก็คือคุณธรรม ที่ชื่อว่า “พรหมวิหาร ๔ นั่นเอง ในกรณีที่เกิดการกระทบกระทั่งกันไม่ว่าที่ไหน สิ่งที่จะต้อง ทบทวนโดยสรุปก็คือ นายจ้างเองต้องสำรวจตัวเองว่า ตัวเรานี้ทำตัว พระภาวนาวิริยคุณ 24 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More