การครองคน-ครองงาน ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองคน ครองงาน หน้า 18
หน้าที่ 18 / 109

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงนโยบาย 4 ประการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนไทย โดยเริ่มจากการเกณฑ์ทหารเพื่อลดความกังวลจากลัทธิล่าเมืองขึ้น การสร้างเพลงชาติ การบังคับเรียนภาษาไทย และการตั้งกองเสือป่าเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี เพื่อให้คนไทยมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันในชาติเดียวกัน ผ่านมุมมองของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงวางนโยบายเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในชาติ นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารถึงการปฏิบัติในด้านต่างๆ ที่จะทำให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจในนโยบายที่ทรงวางไว้อีกด้วย

หัวข้อประเด็น

-นโยบายของรัชกาลที่ 5
-การเกณฑ์ทหาร
-ความสำคัญของเพลงชาติ
-การเรียนภาษาไทย
-การตั้งกองเสือป่า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองคน-ครองงาน ต่อมาไม่นานก็ทรงดำริว่า ถ้าหากขืนปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อ ไป ในขณะที่ลัทธิล่าเมืองขึ้นกำลังระบาด ความพินาศจะเกิดขึ้นบนผืน แผ่นดินไทย จึงทรงดำเนินนโยบาย ๔ ประการคือ ๑.ให้มีการเกณฑ์ทหาร ชายไทยทุกคนเมื่อเป็นหนุ่มฉกรรจ์ มีอายุ ๒๐ ปี จะต้องเป็นทหาร ต้องเกณฑ์มาฝึกวินัยให้หมด ให้มา เป็นกำลังของชาติ ๒. แต่งเพลงชาติให้ร้อง เพราะตอนนั้นยังไม่มีเพลงชาติ เพื่อให้คนไทยที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ได้มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน เป็นคนไทยเหมือนกัน แรกๆ ก็ให้ทหารเกณฑ์ร้องก่อน แล้วฝึก วินัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไป ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี ทหารพวกนี้และประชาชนทั่วไปจึงเกิดมีความรู้สึกว่า ไม่ว่าจะอยู่ จังหวัดไหนของประเทศไทย ฉันคือคนไทย ๓. บังคับให้เรียนภาษาไทย ภาษาพื้นเมืองนั้น ใครจะเรียน ก็ไม่ว่า ที่สำคัญต้องเรียนภาษาไทยกลางด้วย ไม่อย่างนั้นจะเกิดกรณี ว่าอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ใช้กันคนละภาษา แล้วก็ทะเลาะกัน นี่คือความอึดอัดขัดพระทัยของพระองค์ท่าน การสร้างความ รู้สึกว่าฉันเป็นคนไทย ไม่ใช่ทำง่ายๆ ต้องลงทุนกันถึงขนาดนี้ ยังไม่พอ ยังทรงวางนโยบายต่อไปอีก คือ ๔. ตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการต่างๆ ปรองดองกัน เกิดความสมานสามัคคีกัน (ทำนองเดียวกันกับลูกเสือชาวบ้านใน ปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อทรงกำหนด นโยบายไว้อย่างนี้แล้ว ในทางปฏิบัติทรงทำอย่างไร ให้ผู้รับไปปฏิบัติ เข้าใจ ขอใช้คำว่าพระองค์ทรงเทศน์เองเลย จำได้ไหมหนังสือที่เรา พระภาวนาวิริยคุณ 18 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More