ข้อความต้นฉบับในหน้า
การครองคน-ครองงาน
๗. นายจ้าง - ลูกจ้าง
ลูกจ้างกับนายจ้างปกติจะมีเรื่องกระทบกระทั่งและขัดแย้งกันอยู่
บ่อยๆ บางครั้งก็รุนแรงจนถึงขั้นเดินขบวน ทำอย่างไร
ลูกจ้างกับนายจ้าง จึงจะอยู่อย่างพอใจกันด้วยกันทั้ง
๒ ฝ่ายครับ ?
เรื่องลูกจ้างกับนายจ้าง) นี่นะ ที่จะให้อยู่กันอย่างราบรื่น
โดยไม่กระทบกันเลยน่ะ ขอบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่เฉพาะลูกจ้างกับ
นายจ้างหรอก แม้สามีกับภรรยาอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่หนุ่มสาว ตอนนี้
อายุห้าหกสิบ แก่จะย่ำแย่แล้ว ยังไม่วายกระทบกันเลย ลิ้นกับฟันอยู่
ในปากเราเองแท้ๆ ก็ยังไม่วายกระทบกัน
จำไว้เถอะ ถ้าของตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป มาอยู่ในที่เดียวกัน
ก็ต้องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา เพียงแต่ว่าทำอย่างไรการกระทบ
กระทั่งนั้นจึงจะไม่รุนแรง ที่ว่าธรรมดาต้องกระทบกระทั่งกัน ก็เพราะว่า
ยังมีกิเลสด้วยกันทั้งคู่นั่นเอง ฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า ทำอย่างไร
เมื่อมีการกระทบกระทั่งกันแล้ว ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะไม่ก่อเหตุ
การณ์รุนแรงกัน วิธีง่ายๆ คือ เมื่อเกิดเรื่องกระทบกระทั่งกันแล้ว ขอ
ให้ทั้ง ๒ ฝ่าย กำหนดในใจไว้ ๓ อย่างต่อไปนี้
๑. นึกว่าเรื่องกระทบกระทั่งกันนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้อง
ช่วยกันแก้ไข
๒. อย่าคิดว่าใครผิดฝ่ายเดียว อย่าไปหาเลยว่าใครเป็นผู้ผิด
เหมือนจะไปหาว่า ลิ้นผิดหรือฟันผิดที่ไปกระทบกระทั่งกัน จำไว้ว่า “อย่า
ไปค้นหาว่าใครผิด”
น้อยแค่ไหน
๓. ให้พิจารณาว่าเรามีส่วนก่อให้เกิดความผิดพลาดครั้งนี้มาก
ห ล ว ง พ่ อ
21
ตอบ ปั ญ ห า