การครองคน-ครองงาน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองคน ครองงาน หน้า 25
หน้าที่ 25 / 109

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในลักษณะที่เหมือนพ่อเลี้ยงลูก โดยเน้นการใช้คุณธรรมในการทำงานร่วมกันและการปรับปรุงตัวเองเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบร้อย และถึงแม้จะมีความขัดแย้งบางประการ แต่ก็ไม่ถึงกับเกิดปัญหารุนแรง แนะนำให้รักษาลูกจ้างที่มีคุณสมบัติดีเพื่อไม่ให้กลายเป็นคู่แข่งและสร้างธุรกิจให้ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์นายจ้างกับลูกจ้าง
-การใช้คุณธรรมในงาน
-การรักษาลูกจ้างที่มีคุณสมบัติดี
-การปรับปรุงตัวเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองคน-ครองงาน เหมือนพ่อเลี้ยงลูก คือตั้งใจให้ลูกเรามีกินมีใช้อย่างเต็มที่หรือเปล่า ส่วน ลูกจ้างก็ถามตัวเองอีกว่า เราทำตัวเหมือนลูกที่ทำงานให้พ่อเต็มที่แล้ว หรือยัง ถามกันอย่างนี้แล้วแก้ไขตัวเองเสีย ทุกอย่างจะเรียบร้อยหมด เพราะว่าได้ใช้คุณธรรมเชื่อมใจประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่าง ลูกจ้างกับนายจ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ขอเตือนไว้อย่างหนึ่งว่า ทั้งๆ ที่ปฏิบัติอย่างนี้ ก็คงจะมีกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ว่าไม่รุนแรง คือกระทบแต่ไม่กระเทือน เหมือนอะไร เหมือนลิ้นกับฟัน ลิ้นกับฟันกระทบกันแค่เจ็บนิดหน่อย แต่ไม่ถึงกับกระเทือนไปทั้งตัว คือลิ้นไม่ต้องถูกตัด ฟันก็ไม่ต้องถูกถอน อยู่กันต่อไปได้ โบราณเคยให้ข้อคิดเอาไว้ ขอฝากสำหรับนายจ้างโดยเฉพาะ เลยนะ ถ้านายจ้างท่านใดได้ลูกน้องหรือลูกจ้างที่มีคุณสมบัติดีๆ ๔ ข้อที่ว่ามาแล้ว โบราณท่านว่าอย่าปล่อยให้หลุดไป ถ้าหลุดไปอยู่กับคนอื่น กลายเป็นคู่แข่งของเราละก็ ยุ่งเลยต้องสู้กันชนิดหืดขึ้นคอ บางทีล้ม ละลายเอาทีเดียว เรื่องลูกจ้างกับนายจ้างนี่โบราณเขาทำกันอย่างนี้เชียวนะ ครอบครัวใดเจอลูกจ้างดีๆ ถ้ามีลูกสาวเขายกให้เลย ถ้าไม่ยกลูกสาว ให้ บางบ้านก็ให้ถือหุ้นร่วมกันเพื่อจะได้คบกันยืด อยู่กันนาน ลูกจ้างก็ เหมือนกัน เจอนายดีๆ มีพรหมวิหาร ๔ อย่างพ่อบังเกิดเกล้า ก็ฝาก ชีวิตไว้กับท่านเลย จะสุขสบายไปตลอดชาติ ห ล ว ง พ่ อ 25 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More