การครองคน-ครองงาน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง การครองคน ครองงาน หน้า 104
หน้าที่ 104 / 109

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอวิธีการและเทคนิคในการก่อสร้างศาลา กุฏิ ในเขตธุดงค์ โดยอธิบายการใช้หลังคาจากที่มีประโยชน์และประหยัดเผยให้เห็นคำแนะนำในด้านการตั้งขาตั้งกล้อง รวมถึงประสบการณ์ในเรื่องการหยุดเทคอนกรีตซึ่งอาจทำให้เกิดรอยร้าว หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง เชื่อมโยงทฤษฎีกับปฏิบัติอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในงานก่อสร้าง โบสถ์ในเขตธุดงค์พระ

หัวข้อประเด็น

-การก่อสร้าง
-เทคนิคการก่อสร้าง
-วัสดุก่อสร้าง
-การควบคุมงาน
-การหยุดเทคอนกรีต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การครองคน-ครองงาน การก่อสร้างรุ่นหลังๆ เช่น ศาลา กุฏิ ในเขตธุดงค์พระใช้ หลังคาจาก เพราะอะไรคะ ? การก่อสร้างรุ่นหลังๆ ไม่มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย จึงใช้ หลังคาจาก ซึ่งก็มีข้อดี คือหลังคาจากถูกกว่าเต็นท์ 90% เย็นกว่า แล้วให้ความรู้สึกที่ดีกว่า อายุการใช้งานก็ใกล้เคียงกัน แต่ต้องไม่มี การเคลื่อนย้ายนะ ถ้าเคลื่อนย้ายจะเสียหายมาก จากการที่หลวงพี่ต้องควบคุมงานและปฏิบัติงานเองอย่างใกล้ชิด หลวงพี่ได้พบเทคนิคอะไรเป็นพิเศษไหมคะ ? ก็เป็นเรื่องของการใช้ทฤษฎีกับปฏิบัติให้สัมพันธ์กัน อย่างเช่น เรื่องการตั้งขาตั้งกล้อง ซึ่งปกติต้องมีคนช่วยกัน ๒-๓ คน แล้วใช้ลูกดิ่ง จะใช้เวลาประมาณ ๒ นาที อาตมาเคยเอามาทำคนเดียว ตั้งบนคันนา ใช้เวลาตั้ง ๒๐ นาที กว่าจะได้หมุดหนึ่ง เหงื่อตกเลย ต่อมาเลยใช้ เทคนิคแบบมวยวัด คือให้ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด ไม่ต้องใช้ลูกดิ่ง ใช้ เวลาเพียง ๒๐-๓๐ วินาที ในการสร้างโบสถ์ก็ได้พบการหยุดเทคอนกรีตในคาน ซึ่งตาม หลักเกณฑ์ทั่วไปที่เรียนกันเขาจะหยุดเทตรงกึ่งกลางคานในลักษณะ ตั้งฉาก หรือหยุดเทระหว่างคาน แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การ หยุดเทคอนกรีตแบบนี้ ถ้ามีการทรุด (Deflection) ของคานเกิดขึ้น จะมีรอยร้าวเกิดขึ้นทันที เพราะเป็นจุดที่มีการโก่งตัวสูงที่สุด จุดนั้น เป็นจุดที่แรงเฉือน (Shear) เท่ากับศูนย์ เราไปหยุดที่แรงเฉือนไม่เท่ากับ ศูนย์ แต่ Moment เท่ากับศูนย์ ตรงนี้สวยที่สุด ต่อไปถึงคานจะมี De flection นิดหน่อยก็ไม่มีปัญหา อันนี้เป็นเรื่องที่ค้นพบ ไม่ตรงกับ มาตรฐานของ ACI Code พระภาวนาวิริยคุณ 104 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More