การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย หน้า 4
หน้าที่ 4 / 33

สรุปเนื้อหา

การส่งเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัยมีความสำคัญในด้านการพัฒนาโดยยึดถือหลักปรัชญาศีลธรรมของพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเกณฑ์การตัดสินด้านศีลธรรมเริ่มจากการควบคุมทางจิตและการกระทำ โดยมีการพัฒนาทางกาย บุคลิกภาพ จริยธรรม และสังคมควบคู่กัน นอกจากนี้ยังมีแนวทางการส่งเสริมที่เน้นกิจกรรมพัฒนาทางกายและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างปลอดภัยและมีสุขลักษณะ โดยการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญ

หัวข้อประเด็น

-เกณฑ์การตัดสินด้านศีลธรรม
-พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
-การส่งเสริมศีลธรรม
-กิจกรรมพัฒนาเด็ก
-การดูแลจากผู้ปกครอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย A Proposed Sila-Dhamma Cultivation Model for Early Childhood 103 ให้เกิดขึ้นในบุคคลตามหลักพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทาง การส่งเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1. เกณฑ์การตัดสินด้านศีลธรรม เริ่มจากตนเอง โดยการ ควบคุม ทางจิต การกระทำและการพิจารณา เรียกว่า มนธรรมสมบูรณ์ โดยแนวคิดของคานท์ (Kant) และประโยชน์นิยาม มีความสอดคล้องกับ หลักศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องการรักษาศีล ซึ่งมีความเป็นกลาง และเหมาะสมกับการนำมาใช้พัฒนาเด็กปฐมวัย 2. พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นไปพร้อมกันทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย บุคลิกภาพ จริยธรรม และสังคม 3. การส่งเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย มี 2 แนวทาง คือ 1) การใช้ กิจกรรมพัฒนาทางกาย (ศีล) พัฒนาจิต (สมาธิ) พัฒนาปัญญา และ 2) การเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เน้นที่อยู่อาศัยให้สะอาด เป็นระเบียบ มีความมั่นคงปลอดภัย โดยมีหลักการสำคัญคือ การเริ่มต้นที่ ตัวเด็กเอง ฝึกสัจให้เกิดความคุ้นเคยกับหลักธรรม เกิดพัฒนาการ ทางบุคลิกภาพและสังคม เด็กต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จากผู้ปกครอง ด้วยการให้อาหารใจ 6 ประการ คือ 1) ความรักความอบอุ่น 2) ความเข้าใจลูกตามวัย 3) การส่งเสริมด้วยคำชม งดคำตำหนิรุนแรง 4) การให้ความเป็นอิสระ 5) การเสริมสร้างบรรยากาศในครอบครัวที่สงบสุข บนพื้นฐานความยุติธรรม และ 6) การอบรมดูแลอย่างถูกวิธี สรุปได้ว่า แม้วามนุษยชะมี้จะมีความแตกต่างทางความเชื่อ การนับถือ ศาสนา และอุดมการณ์ในการดำรงชีวิตด้านศีลธรรมหรือข้อปฏิบัติ ปฏิบัติที่เหมาะสมของตนเองแต่จะมีเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม ในลักษณะคล้ายคลึงกัน เปรียบเสมือนการมีจุดร่วมเดียวกันบนฐาน ที่มาจากความหลากหลายที่แตกต่างกัน คำสำคัญ : ศีลธรรม เด็กปฐมวัย พัฒนาการเด็ก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More