ข้อความต้นฉบับในหน้า
108
ธรรมาธรรม
ววาสนาอภามลาหาพระพุทธศาสนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 7) พ.ศ. 2561
จำเป็นต้องทำการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆ มาสนับสนุน
เช่น แนวคิด ทฤษฎีพัฒนาการเด็กและเยาวชน หลักและวิธีการพัฒนา
พฤติกรรม หลักการด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์สำหรับ
การพัฒนามนุษย์โดยเฉพาะศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ที่มีความ
สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคมไทย ลสาระความรู้
จากการศึกษา ค้นคว้าจะนำมาวิเคราะห์และบูรณาการ สร้างขึ้นเป็น
แนวทางการส่งเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ มีหลักการ
3 ประการ ที่ต้องคำนึงถึงในการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน คือ 1) พื้นฐาน
ทางบุคลิกลักษณะของเด็กแต่ละคนที่เกิดไม่เหมือนกัน 2) พัฒนาการ
ของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อม
3) มุมมองด้านศีลธรรมของครอบครัว แต่ละครอบครัว แตกต่างกัน
จากความเชื่อที่สืบทอดมา การนับถือศาสนา วิถีการดำเนินชีวิต และอื่นๆ
ดังนั้น สาระสำคัญที่ต้องศึกษา ค้นคว้า และนำเสนอในบทความนี้
มี 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1) ศีลธรรมและเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม
2) พัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการเข้าถึงศีลธรรม
และ 3) การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย
1. ศีลธรรมและเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม
ความหมายของคำว่า ศีลธรรมในทางพระพุทธศาสนาในภาพรวม
มีความหมายเช่นเดียวกับแนวคิด หลักการของปรัชญาตะวันตก คือหมาย
ถึงการกระทำ หรือพฤติกรรมความประพฤติดของมนุษย์ ในด้านความดี
งาม เป็นที่ยอมรับในสังคม แต่วิธีการให้คำจำกัดความ และมีการขยาย
คำอธิบาย แตกต่างกัน กล่าวคือ พระพุทธศาสนาใช้คำว่า “ศีลธรรม”
ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของ “ศีล” และ “ธรรม” หมายถึง ผู้มี “ศีล” คือ ผู้ละเว้น