ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะธรรมาวาสสาวิวิธิการถวายพระพุทธศาสนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 7) พ.ศ. 2561
ศีลธรรมจะควบคู่ไปกับคุณธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายคือ พระนิพพาน ด้วยการทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำใจให้บริสุทธิ์ ผู้นิสงฆ์ ต้องเข้าใจศีลธรรมพื้นฐาน คือ กฎไตรลักษณ์ และกฎแห่งกรรม ศีลธรรมในทางพระพุทธศาสนาจึงจะมีความเชื่อมโยง เริ่มต้นจากตัวเอง ไปสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างดีงามและมีความสุข อย่างยั่งยืน ศีลธรรมและเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม มีความหลากหลาย ตามอุดมคติของชีวิต รูปแบบการดำรงชีวิต จารึปะเทศนิยม และวัฒนธรรม เมื่อมองในฐานะมนุษย์เป็นผู้กระทำ จะเห็นได้ว่า ศีลธรรมและเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
3.1.1 ควบคุมได้ คือ ศีลธรรมที่เกิดจากภายในตัวของมนุษย์ ทั้งจากจิตของมนุษย์ เจตนาและการกระทำ รวมถึงศีลธรรมที่เกิดจากการพิจารณาประโยชน์ คือ ประโยชน์ที่มีลักษณะสัมพันธ์กับความสุข ความร่มเย็น ศีลธรรมเหล่านี้เกิดจากการฝึกฝนคุณภาพของจิตใจ การควบคุมความคิดและการแสดงออก นอกจากนี้การประพฤติทางศีลธรรมในลักษณะนี้จะมีลักษณะของการเริ่มที่ตนเองก่อน (Proactive) ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติความมั่นใจในตนเองเพราะได้เป็นผู้เลือกในการกระทำ
3.1.2 ควบคุมไม่ได้ คือ ศีลธรรมที่เกิดจากจารีตประเพณีการปะพฤติที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือเรียกว่าความต้องการทางสังคม (Reactive)
แม้ว่า ศีลธรรมและเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรม จะมีลักษณะที่ควบคุมได้และไม่ได้ แต่ในเด็กปฐมวัย หน่วยของสังคมที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ครอบครัว ซึ่งอยู่ในระดับที่ควบคุมได้