การสร้างเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัย การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย หน้า 10
หน้าที่ 10 / 33

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดในการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในเด็กปฐมวัยผ่านการใช้หลักการของศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งศึกษาและวิเคราะห์จากปรัชญาตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรม โดยจัดประเภทคุณธรรมให้อยู่ในกลุ่มต่างๆ และยกตัวอย่างการกระทำที่แสดงถึงความดีและความเลว รวมถึงการส่งเสริมพฤติกรรมดีในเด็กเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-การสร้างเสริมสุขภาพ
-ศีลธรรมและคุณธรรม
-พฤติกรรมดีในเด็ก
-ปรัชญาตะวันตก
-จริยธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การสร้างเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัย A Proposed Sila-Dhamma Cultivation Model for Early Childhood จากการทำความชั่ว ผู้มี "ธรรม" คือ ผู้ประพฤติดี คำศัพท์เฉพาะนี้ เมื่อเป็นภาษอังกฤษ ควรใช้คำว่า "Dharma" สะกด ว่า Sila - Dhamma แนวคิดตามปรัชญาตะวันตกใช้คำที่มีความหมายในเรื่องนี้ 2 คำ คือ Moral หมายถึง คุณธรรม4 เป็นคำแสดงการกระทำหรือข้อที่บุคคล ควรทำ ความถูกต้องและความผิด ความดีและความเลว คุณค่าและการตัดสินเชิงศีลธรรม ในนิทานของจริยศาสตร์ตะวันตกมีความสำคัญในฐานะการกระทำที่ดีซึ่งสัมพันธ์ถึงการได้รับยกย่อง ยอมรับ หรือการลงโทษ และ Ethic หมายถึง จริยธรรม หมายถึง การปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ผู้เขียนตั้งใจใช้คำว่า"ศีลธรรม" ในบทความนี้เพื่อสื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะสร้างเสริมพฤติกรรม หรือ ลักษณะนิสัยความประพฤติดีงามในเด็กปฐมวัยนี้ได้ใช้หลักการของศีลธรรมในพระพุทธศาสนา 1.1 ศีลธรรมในทัศนะของปรัชญาตะวันตก ปรัชญาตะวันตก ให้คำจำกัดความของคุณธรรมว่า หมายถึง พฤติกรรมความประพฤติดี และใชเป็นมาตรวัดคุณค่าในหลายลักษณะ ได้แก่ พฤติกรรมที่ควร หรือไม่ควร ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ความดีและความเลว ความมีประโยชน์หรือมีโทษ มีการจัดประเภทของคุณธรรม เป็น 4 กลุ่ม คือ คุณธรรมที่เป็นหน้าที่ คุณธรรมตามจริยประเพณี คุณธรรมจากจิตสำนึกของมนุษย์ และคุณธรรมในระดับมหาชน แจกแจงได้ดังนี้ 1.1.1 คุณธรรมที่เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน อีมานูเอล คอนหนักปริญญาวตะวันตก กล่าวว่าการกระทำที่ถูกคือ การกระทำที่เกิดจากเจตนา คือไม่ใช่เพียงแสดงออก _______________ 3 พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) (2551:392) 4 James W. Gray (2010:8)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More