การวิเคราะห์พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย หน้า 24
หน้าที่ 24 / 33

สรุปเนื้อหา

การศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญในการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายทางศีลธรรมที่ยั่งยืน โดยเด็กควรมีความรับผิดชอบและฝึกฝนจริยธรรมผ่านการควบคุมกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความรักและอบอุ่น การวิเคราะห์พัฒนาการเด็กปฐมวัยแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ พัฒนาการทางร่างกาย การพัฒนาทางจริยธรรม และการพัฒนาสังคม ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตอย่างไม่ประมาทในชีวิตเด็ก การอบรมและการสร้างบรรยากาศที่สงบสุขยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ การเรียนรู้ภาษาที่เกี่ยวข้องก็มีความสำคัญในการพัฒนาทักษะการสื่อสารและการคิดอย่างมีเหตุผลในเด็กในช่วงวัยนี้

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาร่างกาย
-การพัฒนาจริยธรรม
-การพัฒนาสังคม
-การอบรมเด็ก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การวิเคราะห์พัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการวิเคราะห์พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเพื่อบรรลุเป้าหมายทางศีลธรรมอย่างยั่งยืน พบว่า เด็กที่ดีต้องมีลักษณะรับผิดชอบต่อความดีโดยเริ่มที่ตนเองก่อน โดยรักษาและฝึกฝนจริยธรรมของตนเองให้สมบูรณ์ แข็งแรง ผ่านการควบคุม กาย วาจา ใจ รวมถึงพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียของการกระทำเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท การสร้างเสริมให้พัฒนาการทางศีลธรรมเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความรักและความอบอุ่น ความเข้าใจลูกตามวัย เสริมคำชม งดคำตำหนิที่รุนแรง ความเป็นอิสระบรรยากาศในครอบครัวที่สงบสุขและยุติธรรม และการอบรมอย่างถูกวิธี นอกจากนี้จากการศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1) เด็กปฐมวัยเริ่มพัฒนาการทางร่างกายอย่างรวดเร็วจากการสะสม ทัศนา จนสามารถควบคุมร่างกายตนเองได้เป็นอย่างดี 2) พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กปฐมวัย เป็นระดับก่อนกฎเกณฑ์ทางสังคมจะรับรู้ซึ่งดีมดีจากผู้อำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู เด็กที่ดีกว่า ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง โดยพิจารณาการเกี่ยวกับและการถูกลงโทษ และกฎเกณฑ์ที่เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ของรางวัล และกิจกรรมที่ตนพึงพอใจ 3) พัฒนาการทางสังคม เกิดจากปฏิสัมพันธ์กับผู้ให้การอบรมเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ภาษาทั้ง 2 ประเภท คือ ภาษาสังคม (Social Speech) ในวัย 0-3 ปี ภาษาที่ใช้สื่อสารความรู้สึกของตนเองกับผู้อื่น เช่น หิวน โกรธ เจ็บ และภาษาที่พูดกับตนเอง (Egocentric Speech) ในวัย 3-7 ปี เป็นภาษาที่ใช้เพื่อช่วยในการคิดในการตัดสินใจ เพื่อแสดงพฤติกรรม โดยผู้ใหญ่คอยดูแลและให้คำแนะนำ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More