คุณธรรมและศีลธรรมในพระพุทธศาสนา การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย หน้า 29
หน้าที่ 29 / 33

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงคุณธรรมและศีลธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเน้นการควบคุม กาย วาจา ใจ หรือศีล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการตัดสินใจที่ถูกต้องในเด็กปฐมวัย รวมถึงวิธีการสร้างเสริมศีลธรรมให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก และความสำคัญของการศึกษาในบริบทของวัฒนธรรม

หัวข้อประเด็น

-คุณธรรมและศีลธรรม
-การพัฒนาเด็กปฐมวัย
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของกิจกรรมสร้างเสริมศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมะธรรม วาสสาวิจิราวาทพระพุทธศาสนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 7) พ.ศ. 2561 และประโยชน์นิยม เป็นคุณธรรมที่ควบคุมได้เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนสามารถมีการเรียนรู้ เข้าใจเกณฑ์การตัดสิน และนำมาประพฤติปฏิบัติ ซึ่งคุณธรรมประเภทนี้ มีลักษณะคล้ายศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาคือเน้นการควบคุม กาย วาจา ใจ หรือศีล เพื่อทำให้เกิด ปัญญา หรือความสามารถในการตัดสิน อย่างไรก็ดี ศีลธรรมในคตของพระพุทธศาสนามาควบคู่กับการปฏิบัติ ผู้ประพฤติดีเน้นเข้าใจหลักธรรมต่างๆ เช่น ปฏิจจสมุปบาท มรรคมีองค์ 8 อริยสัจ 4 เป็นต้น ศีลธรรมในพระพุทธ- ศาสนาเป็นแนวทางการประพฤติดี เพื่อบรรลุเป้าหมายในพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน ศีลธรรมที่ควบคุมได้หรือศีลธรรมที่เกิดจากการเริ่มที่ตนเองก่อนเป็นศีลธรรมที่เหมาะสมในการสร้างเสริมในเด็กปฐมวัย สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกๆ ความเชื่อ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ ส่วนคุณธรรมและเกณฑ์การตัดสินทางคุณธรรมที่เกิดจากปัจจัยภายนอกในรูปแบบของจารีตประเพณี เป็นคุณธรรมที่ควบคุมไม่ได้ การประพฤติปฏิบัติเป็นไปเพื่อการตอบสนองภายสังคมซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ อย่างไรก็ดี เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้เฉพาะในวัฒนธรรมของตน แล้วจึงเรียนรู้การมีอยู่ของวัฒนธรรมอื่นเมื่อเจริญเติบโตขึ้น การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมศีลธรรมในสิ่งที่ละเอียดอ่อน และควรใส่ใจในรายละเอียด โดยให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน รูปแบบกิจกรรมที่ดีต้องไม่ลิ่งไปไม่หย่อนใจจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง ครู หรือ สังคมไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากหากกิจกรรมตั้งไปจนเด็กล่วมสภาวะเครียดเป็นประจำจะทำให้เด็กไม่มีมั่นใจในตัวเองในระยะยาวทำใหเกิดการต่อต้านเมื่เข้า สู่วัยรุ่น ส่วนกิจกรรมที่หย่อนใจอาจทำให้เด็กมีศักยภาพรวมถึงความสามารถในการปฏิบัติที่เหมาะสมตลอด ซึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้เช่นกัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More