ข้อความต้นฉบับในหน้า
7
ประการที่หนึ่ง เป็นคนแก่ ถูกความชรา ความคร่ำคร่า เข้าครอบงำ หมดความเจริญทางโลกแล้วก็ดี
ประการที่สอง ถูกความเจ็บไข้ได้ป่วยเข้าเบียดเบียน หาความสุขความเจริญทางโลกไม่ได้แล้วก็ดี
ประการที่สาม เป็นคนสิ้นทรัพย์อัปโภคะ ถูกความยากจนคนแค้นเข้าครอบงำ หาความสุขความเจริญทางโลกไม่ได้
แล้วก็ดี และ
ประการสุดท้าย เป็นคนไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมนับถือแล้วก็ดี
บุคคลผู้มีความเสื่อมเหล่านี้เท่านั้น ที่พากันหันหน้าเข้าพึ่งพระพุทธศาสนา ออกบวช เพื่อหลีกเลี่ยงความเสื่อม ดังกล่าว
"สำหรับตัวท่านเองยังไม่แก่เฒ่าชรา ยังเป็นคนไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร สุขภาพอนามัยก็สมบูรณ์อยู่ ทั้งไม่ใช่คนยากจน
คนแค้น อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติถึงปานนี้ ญาติมิตรก็ล้วนนับถือ รักใคร่ มีความอาลัยในตัวท่านมากมาย ไฉนจึงออก
บวชเสียเลา
ก่อนอื่นขอให้ทราบว่าในสมัยโบราณ มีคนที่ออกบวชในลัทธิศาสนาต่าง ๆ เมื่อถูกความเสื่อม 4 อย่างเข้าครอบงำ
โดยไม่มีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงเป็นจำนวนมาก แม้สมัยเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็มีคนเหล่านั้นแฝง
มาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่พระราชาผู้ยังไม่เคยฟังพระธรรมเทศนาเลย
จะตองทรงสงสัย
ทุกข์เก่าทุกข์ใหม่ เหมือนดินพอกหางหมู
พระรัฐบาลแสดงเหตุ 4 ประการ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วแก่พระราชา โดยแยกแยะเหตุแห่งทุกข์ออกเป็น
2 นัย คือ ทุกข์เก่า และ ทุกข์ใหม่ โดยเน้นว่า มนุษย์มีทุกข์เก่าอยู่มากแล้ว ยังไม่วายไปแสวงหาทุกข์ใหม่มาเพิ่ม
ให้หนัก ขึ้นไปอีก เหมือนดินพอกหางหมู
ทุกข์เก่ามี 3 ประการ คือ
1. สังขารไม่จีรังยั่งยืน สัตว์โลกถูกความชรา ความคร่ำคร่าคืบคลานเข้าครอบงำอยู่ทุกขณะ ผู้มีปัญญาจึงควร
นึกถึงความชราอยู่เสมอ