ข้อความต้นฉบับในหน้า
10
15. ความเสียเวลาเปลาในการประจงหวีผมให้เรียบงาม
16. ความกังวลในเรื่องการหาช่างทำผม
เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท มีเวลาประพฤติปฏิบัติธรรมได้เต็มที่ พรหมจรรย์ย่อม
ผ่องแผ้ว เข้าถึงความสงบภายใน ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้โดยง่าย"
กุมารนาคเสนสดับพระธรรมเทศนาแล้วซาบซึ้ง บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ขออนุญาตบิดามารดา
ออกบรรพชาเป็นสามเณร ครั้นได้รับอนุญาตแล้วก็บวชอยู่ในสำนักของพระโรหนะ ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุธรรมกายอรหัต
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมาไม่นาน
ด้วยเหตุที่ท่านประพฤติพรหมจรรย์มาตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ด้วยความเลื่อมใส
ศรัทธาอย่างแท้จริง มีความเคารพในธรรมอย่างสูงสุด นอกจากท่านจะหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์โดยเร็วแล้วท่านยังมีความ
แตกฉานในเทศนาโวหารอย่างยอดเยี่ยม สามารถเทศนา ทรมานพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น จนทำให้พระองค์
ทรงละทิฏฐิมานะ สละราชสมบัติออกบวช และได้บรรลุธรรมกายอรหัต สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปในที่สุดด้วย
พระเจ้ามิลินท์ผู้นี้ เดิมเป็นผู้หลงทนงตนว่า เฉลียวฉลาดกว่าผู้ใด เที่ยวต้อนถามปัญหาธรรม ด้วยชั้นเชิงการพูดแบบ
วกวน นักบวชประเภทต่าง ๆ รวมทั้งพระอรหันต์จำนวนมากต้องได้อายเพราะจนมุม ต้องหลีกลี้เข้าป่าไปมากต่อมาก
แต่เมื่อพบพระนาคเสน พระองค์ไม่สามารถต้อนถามปัญหาให้ท่านจนมุมได้ ยิ่งถามก็ยิ่งได้รับคำตอบที่ลึกซึ้ง ทำให้เกิด
ปัญญา เลื่อมใสดื่มในอรรถรสแห่งธรรม ยอมเป็นศิษย์ของพระนาคเสน ด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง
ข่าวการโต้ตอบปัญหา ระหว่างพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนเป็นเรื่องที่ลือลั่นมากในสมัยนั้น มีผู้ทรงจำคำถาม
และคำตอบ ท่านทั้งสองไว้ดังมีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์มิลินทปัญหา
เรื่องราวของบุคคลผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งออกบวช ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน
มีมากมาย แต่ละท่านก็มีความรู้สึกนึกคิดในแง่มุมต่าง ๆ กันไป แต่ที่สุดแห่งความนึกคิดของท่านเหล่านั้น ก็คือการทำให้
ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทั้งสิ้น
ธรรมเนียมการบรรพชาและอุปสมบทในสมัยพุทธกาล
ในยุคต้นของพระพุทธศาสนา พระสาวกทุกรูปล้วนเป็นพระภิกษุ ไม่มีพระสาวกที่เป็นสามเณร แม้เจ้าชายสิทธัตถะเอง
เมื่อทรงออกผนวชก็เรียกว่า เสด็จออกบรรพชา เพิ่งจะมีการแยกใช้คำว่า "บรรพชา" บ้าง "อุปสมบท" บ้าง เมื่อมี