การบิณฑบาตและภิกษุในพระพุทธศาสนา การบรรพชาอุปสมบท หน้า 16
หน้าที่ 16 / 34

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการบิณฑบาตในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระภิกษุจะต้องปฏิบัติตามหลักการบิณฑบาตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดเพื่อให้มีเวลาศึกษาธรรมะ โดยบิณฑบาตมีหลายรูปแบบ เช่น การถือบาตรไปตามบ้าน การรับของถวายที่วัด และการรับนิมนต์ไปฉันที่บ้านญาติโยม พระภิกษุถือเป็นผู้ขอในรูปแบบสงบที่แตกต่างจากขอทานที่ขอด้วยความคร่ำครวญ ขอให้ผู้อ่านศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อยกย่องพระธรรมและปฏิบัติตามแนวทางของพระพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การบิณฑบาต
-ภิกษุในพระพุทธศาสนา
-อุปัฏฐากและการดำรงชีวิต
-รูปแบบการบิณฑบาต
-การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

16 ก็อด 5. พิจารณาปัจจเวกขณ 6. อุปัฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ 7. บริหารสิ่งของและร่างกาย 8. ขวนขวายเรียนธรรมวินัย 9. เอาใจใส่ของสงฆ์และกิจสงฆ์ 10. ดำรงตนให้น่าไหว้ ภิกษุรูปใดปฏิบัติครบทั้ง 10 ข้อ แม้กิเลสยังไม่หมด ก็ร่อยหรอเต็มที่ 1. บิณฑบาต บิณฑบาต แปลว่า "การตกแห่งก้อนข้าว" โดยพระวินัยห้ามพระภิกษุหุงหาอาหารฉันเอง ต้องรอให้เขาให้ ถ้าเขาไม่ให้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องบิณฑบาต เพราะทรงปรารถนาให้พระภิกษุมีเวลาว่าง พอที่จะ ประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องไปดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ ให้เหนื่อยอ่อน หน้าดำคร่ำเครียด จนไม่มีกะจิตกะใจที่จะ ศึกษาธรรมะ ถ้าจะว่ากันอีกแง่หนึ่งคือ พระองค์ทรงกำหนดให้พระภิกษุถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต เทานัน ภิกษุ แปลว่า "ผู้ขอ" ต่างกับขอทานอย่างไร พระภิกษุกับขอทานใช้คำว่า "ขอ" เหมือนกัน แต่ว่าไม่เหมือนกัน ขอทาน ขออย่างเช้า ร่ำร้อง คร่ำครวญ เพื่อให้ผู้ให้เกิดความสงสาร แต่การขอของพระภิกษุ ท่านใช้คำว่า "ขอแบบ สมณะ” คือขอด้วยอาการอันสงบ ให้ก็รับด้วยอาการอันสงบ ไม่ให้ก็ไปอย่างผู้สงบ แม้การฉัน ก็ฉันอย่างสงบการขอ ประเภท นี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นเท่านั้น รูปแบบของการบิณฑบาตมีหลายลักษณะ เช่น 1. พระถือบาตรออกไปบิณฑบาตตามบ้าน 2. ญาติโยมจัดมาถวายที่วัด 3. พระรับนิมนต์ไปฉันที่บ้านญาติโยม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More