การฝึกปัจจเวกขณ์เพื่อความละเอียด การบรรพชาอุปสมบท หน้า 23
หน้าที่ 23 / 34

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการฝึกปัจจเวกขณ์สี่ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ ซึ่งจะช่วยให้เรามีสติสัมปชัญญะและความละเอียดในการดำรงชีวิต โดยการพิจารณาก่อน ระหว่าง และหลังการบริโภคหรือใช้สิ่งของ เพื่อไม่ให้เกิดอำนาจกิเลสและบริหารจัดการบริขารอย่างมีสติ รวมถึงการสร้างเรี่ยวแรงสำหรับการปฏิบัติธรรม หากฝึกปัจจเวกขณ์อยู่เสมอ จะทำให้สามารถรู้จักตนเองและเข้าใจนิสัยใจคอของผู้อื่นได้ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การฝึกปัจจเวกขณ์
-ความละเอียดรอบคอบ
-สติสัมปชัญญะ
-การใช้สอยอย่างมีสติ
-ผลจากการพิจารณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

23 ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนละเอียด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระภิกษุฝึกปัจจเวกขณ์ทั้งสี่ คือพิจารณาเรื่องการใช้สอยปัจจัยสี่ ซึ่งจำเป็น สำหรับ การดำรงชีวิต อันได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เราอยู่ทางโลก ก็พิจารณาเหมือนกัน แต่พิจารณาแบบชาวโลก เช่น เรื่องอาหาร ส่วนมากคำนึงกันว่า อาหารชนิดนี้ สกปรกหรือไม่ อร่อยหรือไม่ มีคุณค่าทางอาหาร มีโปรตีน คือ เนื้อ นม ไข่ มีแป้ง เท่านั้นเท่านี้ กินแล้วแข็งแรงดี ส่วนมาก เราจะพิจารณากันแค่นี้ ยังใช้ไม่ได้ เป็นการพิจารณาแบบเด็กเมื่อวานซืน การพิจารณาเพื่อทำให้เราเป็นคนมีสติรอบคอบ มีความละเอียดลออ พระองค์ให้พิจารณาถึง 3 ระยะด้วยกัน คือ 1. ให้มีสติรู้สึกตัวในการรับ ไม่ให้รับสิ่งของด้วยอำนาจกิเลส จนทำให้เสียสมณสารูป ต้องพิจารณาในการรับ เช่น เวลาออกบิณฑบาต ค่อนบาตรแล้ว ก็ควรพอหรือหลังเพลใครเอาอาหารมาถวาย ก็ไม่รับ ของใดที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่การประพฤติธรรมก็อย่ารับ และไม่ควรสะสมบริขารเกินความจำเป็น 2. ให้พิจารณาในขณะบริโภคใช้สอย เช่น ฉันอาหารด้วยสำนึกเพียง เพื่อจะให้มีเรี่ยวแรงปฏิบัติธรรม มิใช่เพื่อความ สวยงามหรือเพื่อความอร่อยลิ้น ฯลฯ แม้สบง จีวร หรือกุฏิที่อาศัย ก็ถือหลักเดียวกัน 3. ให้พิจารณาหลังจากบริโภคใช้สอย เมื่อบริโภคใช้สอยจนมีเรี่ยวมีแรงแล้ว ได้เอาเรี่ยวแรงนั้นมาประพฤติปฏิบัติธรรม จริง ๆ จัง หรือเปล่า ถ้าทำจริง ๆ จัง ๆ ก็ไม่เสียเปล่า คุ้มกับที่โยมถวายมา แต่ถ้ายังไม่ทำ ใช้ไม่ได้ แสดงว่ายังเป็นหนี้ ผู้ถวายปัจจัยอยู่ หากพิจารณาสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จะทำให้สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ขึ้น ต่อไปไม่ว่าจะทำอะไร จะอยู่ใน ความพินิจพิจารณาหมด อานิสงสของการพิจารณาปัจจเวกขณ ทำให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ รู้จักประมาณตน ไม่โลภจัด ยิ่งกว่านั้น ถ้าฝึกมาก ๆ เข้า ทำให้รู้จักตนเองได้ดีและสามารถ สังเกตนิสัยใจคอคนอื่นได้อีกด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More