ข้อความต้นฉบับในหน้า
18
เวลาเราให้ของแก่ขอทาน ขอทานจะยกมือไหว้ท่วมหัว แต่พอตักบาตรให้พระ นอกจากพระไม่ไหวเรา เรายังต้อง
ไหว้พระอีก ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ กว่าจะเข้าใจได้นับเป็นสิบ ๆ ปี เมื่อไม่กี่วันมานี้ หนังสือพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นลงว่า
ในเมืองไทยมีลักษณะประหลาดคือ เวลาชาวบ้านเอาของไปให้พระ เพื่อให้พระได้อยู่สบาย ๆ แทนที่พระจะไหว้คน คนกลับ
ต้องไปไหว้พระ แสดงว่าในเมืองไทยชักจะวิปริต ๆ ต่างประเทศเขามองอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นเองก็นับถือศาสนาพุทธ พอเจอ
อย่างนี้ยังตาเหลือก ทำไมจะไม่เหลือกล่ะ เพราะเงื่อนงำนี้เป็นเงื่อนงำที่ลึกซึ้ง มองเผิน ๆ มองไม่ออก ชาวบ้านของเรา
ซาบซึ้งว่า พระภิกษุฉันอาหารแล้ว จะต้องปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติธรรมนั้น กลับมา
สอนเรา ซึ่งมีค่าเกินกว่าข้าวปลาอาหารที่ชาวบ้านให้ท่าน เพราะฉะนั้นที่ไหว้กันกราบกัน ก็ตรงนี้แหละ
การบิณฑบาต เป็นเรื่องของการหาเลี้ยงชีพของพระภิกษุ ซึ่งได้มาโดยชอบดังกล่าวแล้วข้างต้น ไม่เฉพาะแต่อาหาร
เท่านั้น แม้สบง จีวร ยารักษาโรคต่าง ๆ หรือกุฏิที่อาศัย ก็ได้มาในลักษณะเดียวกันคือ ได้มาโดยการขอแบบสมณะ
เกี่ยวกับการบิณฑบาตนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิบัติพระองค์เป็นเยี่ยงอย่างที่ดีเยี่ยมแก่พระสาวก พระองค์ทรง
บิณฑบาตไปด้วย โปรดเทศนาสั่งสอนชาวโลกไปพร้อม ๆ กันด้วย การไปบิณฑบาตของพระองค์ คือการเข้าไปพบคนที่
พระองค์ต้องการจะพบ เพื่อประทานพระธรรมเทศนาให้เขาได้บรรลุธรรม
เมื่อทรงรับอาราธนาไปฉันภัตตาหารที่บ้านใคร เสร็จแล้วพระองค์ จะทรงแสดงธรรมเสมอ
2. กวาดวัด
เมื่อพระภิกษุกลับจากบิณฑบาตและฉันอาหารแล้ว สิ่งแรกที่พึงกระทำคือกวาดวัด กวาดให้ทั่วตั้งแต่ถนนหนทาง
ศาลา ตลอดจนกุฏิของท่าน
กวาดวัดแล้วไดอะไร
ก็ได้ความสะอาด เป็นพระภิกษุต้องฝึกตน ให้เป็นผู้รักความสะอาดอย่างยิ่งยวด
หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามี 3 ประการด้วยกัน คือละความชั่วทุกชนิด ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจ
ให้สะอาดผ่องใส
แต่การที่ใจจะผ่องใสได้ วัตถุภายนอกจะต้องผ่องใสก่อน พระภิกษุจึงต้องฝึกใจให้เริ่มพอใจในความสะอาดตั้งแต่ต้น
ต่อไปจึงจะสามารถฝึกใจให้สะอาดตามวัตถุภายนอกได้