การบวชสามเณรในพระพุทธศาสนา การบรรพชาอุปสมบท หน้า 11
หน้าที่ 11 / 34

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงพิธีการบวชเป็นสามเณรซึ่งเริ่มต้นจากพระราหุล องค์แรกในพระพุทธศาสนา ที่ได้รับพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อแสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระญาติ โดยการบวชมีการใช้ไตรสรณาคมน์เป็นขั้นตอนสำคัญ โดยให้ผู้ขอบวชประกาศการขอบวชต่อหน้าสงฆ์ 3 ครั้ง เพื่อยืนยันความตั้งใจจริง นอกจากนี้ยังอธิบายถึงคุณค่าของอริยทรัพย์ที่เหนือกว่าสมบัติกษัตริย์และความหมายของการบวชในทางพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-พิธีบวชสามเณร
-พระราหุล
-พระพุทธศาสนา
-การบวชด้วยไตรสรณาคมน์
-ความสำคัญของอริยทรัพย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

11 พุทธานุญาต ให้มีการบวชเป็นสามเณร และให้ใช้คำว่า บรรพชา สำหรับการบวชเป็นสามเณร และใช้คำว่า อุปสมบท สําหรับการบวชเป็นพระภิกษุ สามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนาคือ สามเณรราหุล ท่านได้รับพุทธานุญาตให้บวช เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุเป็นครั้งแรก เพื่อแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระประยูรญาติ เหตุที่พระราหุลกุมารได้บวชเป็น สามเณร เพราะพระนางพิมพาทรงคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคงไม่ทรงหวนกลับมาครองราชสมบัติอย่างแน่นอนจึงทรงแนะ ให้พระราหุลกุมาร ไปทูลขอราชสมบัติจากพระพุทธองค์ เพราะโดยประเพณีทางโลกแล้ว พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็น องค์รัชทายาทแห่งกรุงกบิลพัสดุ พระพุทธองค์ทรงดำริว่า พระโอรสควรได้รับ "อริยทรัพย์" ซึ่งเป็นมรดกอันมีค่า ถาวร และให้ประโยชน์สุขที่แท้จริง มากกว่าสมบัติกษัตริย์ จึงทรงมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตรบรรพชาพระโอรสราหุลเป็นสามเณร ด้วยวิธี ไตรสรณาคมน์ การบรรพชาด้วยวิธีนี้ ได้ใช้เป็นต้นแบบแห่งการบวชสามเณรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การบวชด้วยวิธีไตรสรณาคมน์ คือการให้ผู้ขอบวชซึ่งโกนหนวด โกนผม ห่มผ้าไตรเรียบร้อยแล้ว เข้าไปกราบพระภิกษุ เพื่อประกาศขอบวชต่อหน้าสงฆ์ พระภิกษุผู้รับบวชให้ไตรสรณคมน์ โดยการกล่าวนำ ให้ที่พึ่ง 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วผู้ขอบวชจึงกล่าวรับตามนั้น คำกล่าวมีดังนี้ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ : ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเป็นที่พึ่ง ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ : ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ : ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ : แม้คำรบสอง ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเป็นที่พึ่ง ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ : แม่คำรบสอง ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ : แม้คำรบสอง ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ : แม้ครบสาม ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเป็นที่พึ่ง ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ : แม้ครบสาม ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ : แม้ครบสาม ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง การที่ให้ผู้บวชกล่าวถึง 3 ครั้งเช่นนี้ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถือว่า บางครั้งคนเราอาจเอ่ยปากโดยเผลอสติ ไม่ทันคิด ฉะนั้นจะถือคำพูดเพียงครั้งเดียว มาเป็นหลักฐานยืนยันความตั้งใจจริงยังไม่ได้ ต้องกล่าวถึง 3 ครั้ง เป็นการ เจตนาว่า มิได้พูดเพราะเผลอสติหรือเห็นแก่หน้าใคร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More