ข้อความต้นฉบับในหน้า
31
ประการที่ 2 อานิสงส์พลอยได้ ได้แก่
1. อานิสงส์ที่เกิดแก่ผู้อื่น
ก. ช่วยให้บิดามารดาได้มีโอกาสใกล้ชิดพระศาสนา เช่น ได้ฟังธรรม เป็นต้น เพราะต้องไปเยี่ยมเยียนผู้บวช
อยู่เสมอ
ข. แม่สึกออกไปแล้ว ลูกเมียก็เป็นสุข เพราะได้นิสัยดี ๆ ที่เกิดจากการขัดเกลาติดตัวไป เมื่อก่อนเคยขี้เหล้า
เมายา เมาขึ้นมาก็อาละวาด พอบวชแล้วสึกออกไป นิสัยดีขึ้น
ค. ประเทศชาติได้พลเมืองดีเพิ่มขึ้น
2. อานิสงส์ทางธรรม เป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
อานิสงส์ของการบวชชั่วคราว
สำหรับนิสิต นักศึกษา ที่ได้บวชในช่วงสั้น ๆ เป็นครั้งคราว ถือว่าเป็นการบวชชั่วคราว หากตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ดังนี้
1. เป็นผู้รู้จักบริหารเวลา คือ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ภาษาศาสนาเรียกว่า กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
อันเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งของสัปบุรุษ
ขณะเป็นนิสิต นักศึกษา ภาระรับผิดชอบยังมีไม่มาก ความกังวลทางบ้านเรือนไม่มี หากรีบมาบวชก่อน ย่อมบรรลุ
ธรรมได้โดยง่าย
2. แม้ช่วงเวลาจะสั้น แต่ถ้าลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะได้ลิ้มรสความสุขอันเกิดจากความสงบตั้งแต่เยาว์ เพราะตอน
เป็นนิสิต นักศึกษา กิเลสยังไม่แก่จัด เป็นเหมือนไม้อ่อน พอดัดง่าย ครั้นบวชแล้วได้รับรสแห่งความสุขภายใน ก็จะรู้ว่า
บาป บุญ นั้นมีจริง ความสุขภายในดีกว่า ก็จะไม่ติดในอามิสสุข อันเป็นความสุขทางโลก
3. มีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรมไว้กำกับความรู้ จะได้ใช้ความรู้ไปในทางที่ถูกที่ควร ดังพุทธพจน์บทหนึ่งว่า
"ความรู้ทางด้านวิชาการ ที่ชาวโลกเรียน หากเกิดแก่คนพาล ไม่มีศีลธรรม ย่อมมีแต่จะนำความฉิบหายมาให้
เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด เนื่องจากไม่มีคุณธรรมกำกับ"