การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก สถานการณ์พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก หน้า 5
หน้าที่ 5 / 63

สรุปเนื้อหา

การแพร่กระจายของพระพุทธศาสนาเริ่มขึ้นในกลุ่มผู้มีการศึกษาชั้นสูงและได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับการสนับสนุนจากท่านอนาค คริก ธรรมปาละ โดยมีการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิที่ดูแลและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีการเรียนรู้จากข้อคิดข้อเขียนของเซอร์อัลวิน อาร์โนลด์ ที่ช่วยขับเคลื่อนจักรวาลพระพุทธศาสนาไปสู่ประชาชนในโลกตะวันตก และส่งผลให้สถานที่สำคัญอย่างพุทธคยาได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมจากชาวพุทธทั่วโลก.

หัวข้อประเด็น

-ประวัติพระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก
-บทบาทของท่านอนาค คริก ธรรมปาละ
-การก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ
-สำคัญของพุทธคยา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ได้คัดเลือก ปริวรรต แปล และทัศนคติคำสอนพระพุทธศาสนดังเดิมออกเผยแพร่ในกลุ่มผู้มีการศึกษาชั้นสูง แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด (Norman 1983: 1-2) พระพุทธศาสนาเริ่มแพร่หลายออกไปในวงกว้างเมื่อได้รับการขับเคลื่อนนำโดยท่านอนาค คริก ธรรมปาละ ร่วมกับ “สมาคมเทววิทยา” ในเบื้องต้น และเป็นแรงบันดาลใจให้ “สมาคมมหาโพธิ” ถือกำเนิดเกิดในภายต่อมา ซึ่งท่านอนาค คริก ธรรมปาละ ได้รับแรงบันดาลใจจากการติดตามอ่านข้อคิดข้อเขียนของท่านเซอร์อัลวิน อาร์โนลด์ จากหนังสือดังเรื่อง “ประทึบแห่งเอเชีย” (The light of Asia) ซึ่งพรรณนาพุทธประวัติให้ชาวยุโรปและอเมริกาได้อ่านกันแพร่หลายไปในโลกะวันตก และท่านเซอร์อัลวิน เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับครอง “มหาเจดีย์ทุพกคยา” สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ข้อคิดเห็นข้อเขียนของท่านเซอร์อัลวิน เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านอนาค คริก ธรรมปาละ ชาวพุทธหนุ่มชาวศรีลังกา และท่านโกเถน ครุฑนะ พระภิกษุชาวญี่ปุ่น ซึ่งอ่านข้อเขียนแล้วเกิดความประทับใจ เดินทางมาเยี่ยมพุทธสถานในเดือนมกราคม พ.ศ. 2434 และเมื่อเห็นว่ากลุ่มพราหมณ์ตระกูลมหันต์ไม่ได้ดูแลรักษา “พุทธคยา” เท่าที่ควร จึงได้รวมตัวร่วมกันเงี่ยร้องขออพุทธคยาอยู่ในกลุ่มสำเร็จ ทำให้ “พุทธคยา” เป็นสถานที่สำคัญของชาวพุทธทั่วโลกในปัจจุบัน หลังจากนั้น เรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาก็คลั่งไคล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More