ข้อดีของการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบสมาคม สถานการณ์พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก หน้า 20
หน้าที่ 20 / 63

สรุปเนื้อหา

การเผยแผ่พุทธศาสนาแบบสมาคมมีข้อดีหลายประการ เช่น การทำงานร่วมกันในรูปแบบสมาชิกที่มีทิศทางเดียวกัน มีการส่งข่าวสารผ่านจดหมายข่าวและวารสารที่ให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่สมาชิก สมาคมบาสิได้สร้างพุทธศาสนิกชนสายปัญญาและผลักดันการเผยแพร่คำสอนพุทธศาสนาในยุโรปและอเมริกา ทำให้มีนักปราชญ์ชาวพุทธจำนวนมากในภูมิภาคเหล่านี้ นอกจากนี้สมาคมเทววิทยาก็มีบทบาทในการขยายฐานของพุทธศาสนิกชนในทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา มีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนพุทธศาสนิกชนที่สนับสนุนศีลธรรม และมีการขยายตัวของพุทธมกะในหลากหลายประเทศ รวมถึงบ้านเกิดของพระพุทธศาสนาอย่างอินเดียและศรีลังกา.

หัวข้อประเด็น

-การเผยแผ่พุทธศาสนา
-บทบาทของสมาคม
-การทำงานร่วมกัน
-การสร้างคณะนักปราชญ์
-การขยายพุทธศาสนาในทั่วโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ข้อดีของตัวแบบการเผยแผ่พุทธแบบสมาคมมีหลายประเด็น ข้อแรกคือทำงานกันในรูปแบบ “สมาชิก” ซึ่งสนใจคิดและเห็นในทิศทางเดียวกัน และมีทั้งแบบทั่วไปและแบบกิติมศักดิ์ มีระบบการประชาสัมพันธ์งานกันในลักษณะ “จดหมายข่าว” มีวารสารนิยายสารส่งข่าวคราวถึงสมาชิกเป็นรายเดือนรายไตรมาสรายปี มีการกิจกรรมต่าง ๆ ก็ส่งข่าวคราวถึงกัน ยกตัวอย่างสมาคมบาสิให้สร้าง “พุทธศาสนิกชน” สาย “ปัญญา” ผลงานของสมาคมในรอบร้อยปีได้รับสนับสนุนส่งเสริม ค้นคว้าและเผยแพร่คำสอนพระพุทธศาสนาแบบเรวาา และมีส่วนสร้าง “นักปราชญ์ชาวพุทธตะวันตก” แม้จะมีจำนวนไม่น้อย แต่ก็มากด้วยคุณภาพ ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันคัดเลือก บริวจรร แปล และเผยแพร่ “คัมภีร์พุทธดั้งเดิม” ทั้งพระบาลีและอรรถกถา สู่ดวงวิชาการพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วยุโรป และอเมริกา ทำให้เกิดมีจำนวนชาวพุทธที่มากด้วยสติปัญญา ความรู้ความสามารถ จำนวนหนึ่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และรัสเซีย เป็นต้น ส่วนสมาคมเทววิทยาก็มีบทบาทในการสร้างและขยายฐานชาวพุทธกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายเน้นขยายจำนวน “พุทธศาสนิกชน” สาย “ศีลธรรม” มุ่งดึงดูดชาวตะวันตกให้เปลี่ยนมานับถือ “พระพุทธศาสนา” เป็นจำนวนมาก และยังขยายผลการสร้าง “พุทธศาสนิกชน” ไปทั่วโลกทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา คอสเตรเลีย แอฟริกา ทำให้มีผู้ภูฏานตนเป็น “พุทธมกะ” เกิดขึ้นจำนวนมาก ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศอันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือนิเดียและศรีลังกาด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More