ความสำเร็จและล้มเหลวของชาวพุทธในอนาคต สถานการณ์พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก หน้า 44
หน้าที่ 44 / 63

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงอนาคตของชาวพุทธ โดยการวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเติบโตของประชาชนชาวพุทธในโลก ตลอดจนแนวทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดกลุ่มชุมชนเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอเกี่ยวกับการขยายวัด การสร้างคลัสเตอร์ทางองค์การ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีความสำคัญยิ่งในการทำให้พระพุทธศาสนาเติบโตในยุโรปและทั่วโลก โดยมุ่งหวังให้ชาวพุทธทั่วโลกสามารถร่วมมือกันได้อย่างจริงจังและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-การเติบโตของชาวพุทธ
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-แนวทางเศรษฐศาสตร์
-การใช้เทคโนโลยีในการเผยแผ่
-การสร้างเครือข่ายชุมชนชาวพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมะวารา วารสารวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับที่ 5 ปี 2560 ความสำเร็จด้วยปริมาณชาวพุทธ 2,000 ล้านคนขึ้นไปในอนาคต กับความล้มเหลวด้วยจำนวนตัวเลข 500 ล้านคน ซึ่งชาวพุทธทั้ง ตะวันออกและตะวันตกจะช่วยกันคิดช่วยกันทำเป็นสำคัญ ประเด็นที่ 2 เงื่อนไขด้านปัจจัยสนับสนุน (Factor Conditions) คือ ความสามารถขององค์การพุทธในการเปลี่ยนทรัพยากร พื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรอื่น ๆ ให้เกิดความได้เปรียบ หากใช้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์คือความประหยัดเกิดจากการขยาย วัดจำนวนมาก (Economy of Scale) ความประหยัดเกิดจากการรวม กลุ่มเป็นคลัสเตอร์เครือข่ายองค์การชาวพุทธ (Economy of Scope) และความประหยัดเกิดจากใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารเจาะ สภาพยุโรป (Economy of Speed) มาพิจารณาเมื่อเงื่อนไขปัจจัยการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกสู่โลกตะวันตก ตัวแบบของชุมชนชาว พุทธไตรรัตนะ ทั้งแบบรายบุคคลและชุมชน นักธุรกิจสัมมาอาชีพ ถือเป็น ตัวแบบการเผยแผ่เชิงรุกที่ได้ผลในแง่ของความประหยัดเกิดจากการ ขยายวัดจำนวนมาก (Economy of Scale) และความประหยัดเกิด จากการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์เครือข่ายองค์การชาวพุทธ (Economy of Scope) แต่สำหรับการเผยแผ่เชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทันสมัยเป็นเครื่องมือเชิงรุก Economy of Speed ยังไม่พอองค์พุทธใด ๆ คิดและทำจนเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน จากการประเมินแนวคิดที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจทั้ง 3 รูปแบบ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More