ข้อความต้นฉบับในหน้า
94 ธรรมะราช
วาระวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับที่ 5 ปี 2560
เวียดนาม ซึ่งก็เดินทางไปตั้งฐานพักอาศัยต่าง ๆ
ในยุโรป อเมริกา และออสเตรีย เป็นอันมาก แนวโน้มมีการจัดตั้ง “วัด”
หรือ “ศูนย์การปฏิบัติธรรม” ขยายตัวออกไปเพื่อรับใช้ชุมชนที่ขยายตัว
มากขึ้นเรื่อย ๆ และวัดตั้งสังกัดในไทย ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร
ได้มีการส่ง “พระธรรมนุต” ไปประจำวัดเหล่านั้น ซึ่งวัดถือว่าเป็นสถาน
ที่พึ่งพาทางจิตใจของชุมชนชาวพุทธ และเป็นศูนย์รวมของชุมชนชาว
พุทธในต่างประเทศมีผู้นำชาวพุทธที่เข้มแข็งในการสนับสนุนและส่งเสริม
กิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จัดตั้งในรูปแบบองค์กรไม่แสวงหา
กำไร มีลักษณะสำคัญ 2 ประการในมุมมองของชาวตะวันตกคือ องค์การ
แบบที่มีพระเป็นผู้นำดูแล เรียกว่า “วัด” และองค์กรแบบสำนักปฏิบัติธรรม
มีคนในชุมชนเป็นผูดูแล เรียกว่า “สมาคมชาวพุทธ” หรือ “ศูนย์ปฏิบัติ
ธรรมชาวพุทธ”
ข้อดีการมีตัวในต่างแดนคือ “การประชาสัมพันธ์พระพุทธศาสนาใน
เชิงสัญลักษณ์” ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคนไทยไปตั้งรากฐานที่ใด ก็จะมีการ
รวมตัวและคนมาชุมนุมกันและจัดกิจกรรมรวมกันโดยนำเอาวัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงามของไทยไปเผยแพร่ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เช่น
อาหารไทย มวยไทย จำไทย เพื่อสร้างบรรยากาศและช่วยให้รู้สึกถึงความ
เป็นไทย และช่วยให้คนไทยในต่างแดนรู้สึกผ่อนคลายความคิดถึงบ้าน
เกิดเมื่อคนของตน นอกจากนนี้ชุมชนคนพุทธในต่างแดนก็มีส่วนสำคัญ
ในการนำเอาพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในโลกตะวันตกในเมืองที่ตน
นำพำนักอาศัยอยู่ โดยการจัดตั้งวัดไทย เพื่อจะได้มีโอกาสในการทำบุญ