การพัฒนาของชุมชนชาวพุทธตะวันตก สถานการณ์พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก หน้า 24
หน้าที่ 24 / 63

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชาวพุทธในยุโรป โดยมีการจัดองค์กรและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างบรรทัดฐานของการปฏิบัติธรรมและการเรียนรู้ในศาสนาพุทธ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงจำนวนสมาชิกและการรวมกลุ่มของชาวพุทธจากนิกายต่าง ๆ เพื่อสร้างสังคมพุทธในยุโรปให้เติบโตมากขึ้น โดยมีตัวอย่างองค์กรสำคัญในระดับยุโรปและการเชื่อมโยงกับชุมชนทั่วโลก เช่น สมาพันธ์ชาวพุทธยุโรปและพุทธสมาคมโลก. สถิติปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ามีสมาชิกชาวพุทธจำนวนมากในยุโรปซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวนี้มีความสำคัญมากขึ้นในโลกสมัยใหม่

หัวข้อประเด็น

-การเปลี่ยนแปลงชุมชนชาวพุทธในยุโรป
-บทบาทขององค์กรพุทธ
-การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
-สถิติและข้อมูลสมาชิกชาวพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

102 ธรรมราการ วัฒนาวิทรามาทพระพุทธศาสนา ฉบับที่ 5 ปี 2560 ในฐานะ "บรรพิตีด" ผู้ถือเพศพรหมจรรย์ทั้งหญิงและชายจะต้องเข้าคอร์ส ฝึกควบคุมจิต เรียกว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่เน้น "การบรรลุธรรมขั้นสูง" ต่อไป โดยมี "การวัดและประเมินผลการปฏิบัติธรรม" ที่นี่ย้ำสำคัญทางสถิติ (Tiratana Buddhist Community 2017) ชุมชนชาวพุทธตะวันตกในลักษณะที่รวบรวมมา มี "ตัวแปร สำคัญ" ที่ผู้นำชาวพุทธฝรั่งเศส องค์กรชาวพุทธต่าง ๆ ในโลกตะวันตกนำไปใช้สร้างและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง "ชาวตะวันตก" ให้กลายเป็น "ชาวพุทธตะวันตก" สำหรับ "สถาบันชาวพุทธตะวันตกทั้งหลาย" และมีนัยสำคัญต่อการบูรณาการและเปลี่ยนแปลงชาวตะวันตกจากระดับขั้นสู่สถานภาพของ "สังคมชาวพุทธตะวันตก" สถาบันชาวพุทธตะวันตก ที่กำลังดำเนินการเคลื่อนไหว และทำงานได้ผลในโลกตะวันตกมีหลายองค์กร อาทิ สมาพันธ์ชาวพุทธยุโรป (European Buddhist Union) ซึ่งองค์กรมีสถานภาพเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ยุโรป (European Union) พุทธสมาคมโลก (World Fellowship of Buddhism) และสหพันธ์ชาวพุทธนานาชาติ (International Buddhist Confederation) ปัจจุบันเมื่อรวมชาวพุทธทุกนิกาย มีจำนวนนนับพันองค์กรกระจายทั่วในประเทศต่าง ๆ ของสมาพันธ์ยุโรป มีข้อสังเกตว่า ผู้บริหารองค์ชาวพุทธยุคใหม่ พยายามซักชวนชาวพุทธจากทุกนิกายให้มาร่วมกันทำและขยายสมาชิกชาวพุทธให้เพิ่มเติม จำนวนมากในสมาพันธ์ยุโรป ล่าสุดมีกำลังสำรวจและบันทึกเป็นสถิติว่านสมาชิกชาวพุทธมีจำนวน 1,800,000 คนเศษ กระจายอยู่ตาม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More