ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 1
หน้าที่ 1 / 44

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและบทบาทที่สำคัญของศาสนาพุทธในสังคมไทย ผ่านคำกล่าวจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์และเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของคนไทยในสมัยกรุงสุโขทัย รวมถึงการยอมรับในความหลากหลายของศาสนาในประเทศไทย ข้อความนี้ชวนให้ผู้คนพิจารณาถึงความสำคัญของการนับถือพระพุทธศาสนาและคุณค่าที่มีกับตนเอง

หัวข้อประเด็น

-ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-บทบาทของศาสนาพุทธในสังคมไทย
-ความเชื่อและเสรีภาพทางศาสนา
-ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำนำ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ พ.ศ. 1826 มีบางตอนกล่าวไว้ว่า เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ใครใคร่คาช้าง คา ใครจะใครค้ามา คา ใครใครคาเงิน คาทอง คา ไพร่ฟ้าหน้าใส..... ข้อความดังกล่าวเป็นพยานยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ ความสุขสบายในชีวิตความเป็นอยู่ ความอิสระเสรี ในการเลือกดำเนินชีวิตของชาวไทย สมัยกรุงสุโขทัย และชีวิตที่เป็นอิสระเสรีของชาวไทย ก็ยังได้ครอบคลุมไปถึง สิทธิ เสรีภาพที่จะเลือกนับถือ ลัทธิศาสนาใด ๆ ความเชื่อถือใด ๆ ก็ได้ตั้งแต่โบราณกาล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ แสดงว่า คนไทยได้ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาสำคัญของบ้านเมือง สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่ศาสนาพุทธมิได้มี หลักการณ์ที่จะกีดกันขัดขวาง ผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น ๆ ฉะนั้นถึงแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ 90% จะนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คริสต์ อิสลาม และลัทธิอื่น ๆ ปะปนรวมกันอยู่ได้ในประเทศ อย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลองสอบถามประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธตั้งแต่กำเนิด ว่าทำไมจึงนับถือศาสนาพุทธ คำตอบก็คงใกล้เคียงกันมาก ก็คือ นับถือเพราะปู่ย่าตายายของเรา นับถือกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คำตอบเพียงเท่านี้....เพียงพอแล้วหรือ สำหรับเรา..... ชาวพุทธทั้งหลาย นอกเหนือจากการลงทะเบียน ตีตรา ความเป็นพุทธศาสนิกชนสืบต่อจากบรรพบุรุษของเรานั้น - เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง เกี่ยวกับพุทธศาสนา - เราได้ซาบซึ้งถึงคุณค่าและสาระแก่นแท้ของพระพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด - เราได้มีความศรัทธา ภาคภูมิ และตระหนักในความยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราบ้างหรือไม่ 1
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More