การฝึกสมาธิและความพยายามในธรรมะ ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 22
หน้าที่ 22 / 44

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเน้นการฝึกสมาธิและความพยายามที่ไม่ถอยหลังของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยยกตัวอย่างการสอนของหลวงพ่อและข้อคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการตั้งใจทำให้ถึงจุดหมายด้านธรรมะ การไม่ประมาทในความเพียร และการศึกษาในวิชาต่าง ๆ ที่ช่วยในการดับกิเลส ซึ่งสะท้อนถึงการทดลองทำในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อบรรลุผล จนท้ายที่สุดได้เข้าใจถึงธรรมะแม้ผ่านการทดลองที่หลากหลาย รวมถึงการบริโภคอาหารเพื่อการดำรงชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-ความเพียรในธรรมะ
-หลวงพ่อและการสอน
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การทดลองในธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

22 ในทำนองเดียวกัน เมื่อเสด็จไปฝึกสมาธิกับอุทกดาบส ก็ได้รับคำชมเชยจากอุทกดาบส และเชิญชวนให้อยู่ ด้วยกัน เพื่อช่วยปกครองลูกศิษย์ต่อไปเช่นเดียวกัน พวกเราเองไปเรียนกับอาจารย์ บางทีก็เรียนไม่จบ ตก ๆ หล่น ๆ หลวงพ่อมีเรื่องตลกที่ขำไม่ออก ก็พวกเรานี่แหละ บางคนมาถึง "หลวงพ่อทำสมาธิอย่างไร" หลวงพ่อก็สอนไป ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ตั้งใจทำไปนะ อีก 2-3 วันก็มาแล้ว หลวงพ่อก็ดีใจ เอ้อ...คงจะเข้าถึงปฐมมรรคแล้ว แต่เปล่า! "หลวงพ่อ ผมจะไปละ" อ้าว....เป็นอะไรละ "โอ้ย...ผมเรียนตั้งนาน ยังไม่เห็นปฐมมรรคสักที ไปดีกว่า ไปเรียนสำนักอื่น" โธ่เอ๊ย จะเรียนที่ไหนก็ต้องเรียนให้จบ รู้จริงเสียก่อน ทำเหยาะ ๆ แหยะอย่างนี้ ทั้งชาติก็ไม่ได้อะไร ดูตัวอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่านไม่เคย ถอยหลังเลย ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้ถึงธรรมะ 2 อย่าง คือ ความไม่รู้จักพอในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่ถอยหลับ ในการตั้งความเพียงนั้น เรื่องถอยหลังไม่ต้องพูดถึง พระองค์ท่านมีแต่เดินหน้าเรื่อยไป เพราะฉะนั้นคำว่า ถอยตั้งหลัก ไม่ใช่คำพูดของพ่อเรา อย่าเอามาพูดนะ ทรงขยายความต่อไปว่า "เราตั้งความเพียร คือความไม่ถอย หลังว่า แม้หนังเอ็นกระดูก จักเหลืออยู่เนื้อและเลือดในสรีระ จะเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อยังไม่บรรลุถึง ประโยชน์อันบุคคลจะลุได้ ด้วยกำลังของบุรุษด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว เรื่องจะหยุดความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย เรานั้นได้บรรลุความตรัสรู้ เพราะความไม่ประมาท ได้บรรลุโมกขธรรมอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่า เพราะความไม่ประมาท" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พากเพียรศึกษาวิชาต่าง ๆ ทุกวิชาที่คนในยุคนั้นเชื่อกันว่า เมื่อทำแล้วจะทำให้หมดกิเลสได้ ๆ บางพวกเชื่อกันว่า ถ้าบำเพ็ญตบะโดยเปลือยกาย โดยไม่สนใจใยดีกับร่างกาย แม้ที่สุดจะถ่ายอุจจาระ ก็ใช้มือ ของตนนั่นแหละ เช็ดให้เกลี้ยง ไม่ได้เอาน้ำล้าง บางพวกก็เคร่งครัดเรื่องอาหารที่รับประทาน กล่าวคือ - ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ท่านผู้เจริญ จงมารับอาหาร" - ไม่รับอาหารที่เขานิมนต์ว่า "ท่านผู้เจริญ จงหยุดก่อน" - ไม่ยินดีในอาหารที่เขานำมาเฉพาะเจาะจง ข้าวปลาอาหารที่เขาเตรียมไว้ก็ไม่รับ - เที่ยวไปหา เปลือกไม้บ้าง หญ้าบ้าง ผักบ้าง สาหร่ายบ้าง รำข้าวบ้าง ข้าวสารหัก ๆ พวกปลายข้าวที่เขา เลี้ยงไก่ คือ มีความเชื่อว่า ถ้ากินอาหารไม่พิถีพิถันแล้ว กิเลสจะหมด พระองค์ท่านก็ทดลองหมด แม้ที่สุด คนในยุคนั้น เชื่อว่ากินขี้วัวแล้ว จะหมดกิเลส พระองค์ก็ทดลองทำตาม ทรงบริโภคขี้วัวและหญ้าเป็นธัญญาหารบริโภค ผลไม้ที่หล่น อยู่โคนต้น เก็บรากไม้ในป่าเป็นอาหาร เพื่อยังชีวิตบ้าง นุ่งห่มด้วยผ้าที่ทิ้งไว้กับซากศพ บางครั้งก็นุ่งห่มด้วยหญ้าคา นุ่งห่มด้วยเปลือกไม้ นุ่งห่มด้วยหนังสัตว์ที่ยังมีเล็บติดอยู่ แม้ที่สุดเอาปีกนกเค้าแมวมาต่อกันทำเป็นผ้านุ่งห่มก็ยังเคยทำ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More