ข้อความต้นฉบับในหน้า
23
42
4. ความจริงเรื่องทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร
ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีข้อปฏิบัติ 8 ประการคือ
1. ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
2. ความด่าร้ชอบ
(สัมมาสังกัปปะ)
3. ความมีวาจาชอบ (สัมมาวาจา)
4. ความประพฤติชอบ (สัมมากัมมันตะ)
5. ความมีอาชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ)
6. ความเพียรชอบ
(สัมมาวายามะ)
7. ความตั้งสติไว้ชอบ (สัมมาสติ)
8. ความมีสมาธิชอบ (สัมมาสมาธิ)
12. ธัมมจักกัปวัตนสูตร
ชื่อพระสูตรซึ่งเป็นปฐมเทศนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ประกอบด้วยเนื้อหาที่สำคัญคือ
1. ทรงชี้ทางทำความเพียรที่ผิดวิธี 2 วิธี ได้แก่
- กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้ชุ่มอยู่ในกาม
- อัตกิลมกานุโยค การทรมานตนให้ลำบาก ว่าเป็นการทำความเพียรแบบสุดโต่งที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน
ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ว่า เป็นไปเพื่อนิพพาน
2. ทรงแสดงอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์โดยละเอียด
3. ทรงแสดงว่ารู้ตัว อริยสัจทั้ง 4
- ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจทั้ง 4
- และทรงรู้ว่าได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว จึงแน่พระทัยว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาน
13. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
คือวิธีอุปสมบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานโดยพระองค์เอง ด้วยการเปล่งวาจาสั้น ๆ ว่า เธอจงเป็นภิกษุเถิด
หรือ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
โดยชอบเถิด การให้บวชวิธีนี้ เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยต้นพุทธกาล โดยพระองค์จะประทานให้เฉพาะกับผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม
ในระดับตั้งแต่พระโสดาปัตติผลขึ้นไป แล้วทูลขอให้พระองค์บวชให้