พระปัญญาธิคุณและการศึกษาธรรมะ ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้า 35
หน้าที่ 35 / 44

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีความสามารถในการบรรลุธรรมด้วยพระองค์เอง โดยมีการศึกษาธรรมะที่พิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งแสดงถึงความเหมาะสมและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรม รวมถึงการเผยแผ่พระธรรมเพื่อให้ชาวโลกได้รับความสุขและสงบ โดยใคร่ครวญถึงคำสอนต่าง ๆ ในหลายศาสนาเพื่อพิจารณาคำสั่งสอนที่เหมาะสมกับบุคคลที่มีภูมิปัญญาแตกต่างกัน สำหรับการศึกษาธรรมะนี้ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง มีเหตุผล และเป็นจริงตลอดเวลา ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งไม่เพียงแต่ตนเอง แต่รวมถึงครอบครัวและสังคม

หัวข้อประเด็น

-พระปัญญาธิคุณ
-การบรรลุธรรม
-การศึกษาธรรมะ
-ความเหมาะสมของคำสอน
-การเผยแผ่พระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ด้วยพระปัญญาธิคุณ อันล้ำเลิศที่ทรงเห็นสภาวะที่แท้จริงของโลก ดวยพระวิริยะอุตสาห ที่แลกด้วยชีวิต ด้วยพระขันติ อดทนต่อความทุกข์ทรมานทั้งปวง ด้วยพระปณิธาน อันแน่วแน่มั่นคง พร้อมด้วยพระบารมีอันวิเศษสุด ที่สะสมมาถึงยี่สิบอสงไขยกับแสนกัป จึงทรงบรรลุธรรมด้วยพระองค์เอง มีศาสดาองค์ใดบ้างที่มีประวัติแสดงการศึกษาธรรมะเป็นขั้นตอน จนบรรลุธรรม ตรัสรู้แจ้งด้วยพระองค์เอง ดังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา หลักธรรมคำสั่งสอนธรรมะ ถ้าจะศึกษาหลักธรรมะของศาสดาแต่ละท่าน ลองพิจารณาว่าคำสั่งสอนในศาสนาต่าง ๆ นั้น - พิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุด้วยผลหรือไม่ - คำสั่งสอนมีความเหมาะสมแก่บุคคลที่มีภูมิปัญญาต่าง ๆ อย่างไร - การปฏิบัติตามคำสั่งสอนเหล่านั้น ได้ผลอย่างไรบ้าง เราก็จะเห็นได้ว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น - พิสูจน์ได้ทุกกาลเวลา - พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง - มีความลุ่มลึกเหมาะสมกับภูมิปัญญาของสัตว์โลกที่มีอัธยาศัยแตกต่างกัน - พิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความจริง ตลอดเวลา - เมื่อปฏิบัติแล้วก็ได้ผลสำเร็จ ประสพความสุข ความเจริญ ตามขอบเขตความสามารถการปฏิบัติธรรม เกิดประโยชน์ตั้งแต่สวนตน ครอบครัว และสวนรวม มีธรรมะ คำสั่งสอนในศาสดาใดบ้างที่เพียบพร้อมด้วยคุณความดีทั้งปวง เสมอด้วยศาสนาพุทธ ประวัติการเผยแผศาสนา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว แทนที่จะเสวยวิมุติสุขเฉพาะพระองค์ กลับมีน้ำพระทัยเมตตา ที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ชาวโลก เพื่อให้มนุษย์ชาติได้รับสันติสุขอันแท้จริง ดังเช่นพระองค์ท่าน 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More