ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.ทานบารมี คือบารมีที่เกิดจากการให้ทาน พูดง่าย ๆ ใจกว้าง เหมือนทะเล มีอะไรก็ช่วยกันแบ่งปันกันไป
ไม่หวงกันหวงใช้ เสียสละกันไป อย่าว่าแต่ข้าวของสมบัตินอกกายเลย แม้แต่เลือดเนื้อชีวิตก็สละได้ อาจเปรียบกับคน
ในยุคนี้ เช่น บางคนเคยสละโลหิตไปให้คนอื่น หลายต่อหลายครั้ง
2.ศีลบารมี คือความบริสุทธิ์ของกาย วาจา ใจ ที่ตั้งใจรักษาไว้อย่างดีขนาดเอาชีวิตเลือดเนื้อเป็นเดิมพัน
ถ้าจะให้ทำลายศีลแล้ว ยอมตายเสียดีกว่า ผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ จะต้องมีความบริสุทธิ์ถึงขนาดนี้
3.เนกขัมมบารมี คือการตัดอาลัยจากเรื่องครอบครัว แล้วออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อเป็นผู้สร้างสันติสุข
แกสวนรวม
4.ปัญญาบารมี คือศึกษาให้แจงทั้งทางโลกทางธรรม สมฐานะของพระสัพพัญญู ศาสดาผู้รูแจงในโลก
5.วิริยะบารมี คือมีความเพียร ซึ่งมิใช่หมายถึงเพียรทำมาหากิน แต่เพียรที่จะขัดเกลานิสัย ชำระล้างกิเลส
ของตนเอง รู้ว่านิสัยอย่างไรไม่ดีก็เลิกเสีย บำเพ็ญเพียรสร้างความดีให้ยิ่งขึ้นไป มีความเพียรอย่างยิ่งยวดขนาดเอาชีวิต
เป็นเดิมพันทีเดียว
6.ขันติบารมี คือมีความทรหดอดทนเป็นเลิศ แม้จะถูกล้างผลาญชีวิตอดทนก็ไม่โกรธ ทนเพื่อความดี
อยางเอาชีวิตเขาแลก
7.สัจจบารมี คือมีความจริงใจ ต่อการปฏิบัติธรรม การทำความดี
8.อธิษฐานบารมี คืออธิษฐานตั้งมั่นต่อการทำความดี มีโครงการระยะยาวอย่างมั่นคง ทำตามปณิธานนั้น
อย่างแน่วแน่ ถ้าไม่สำเร็จในชาตินี้ก็จะทำต่อไปในชาติหน้าจนถึงที่สุด
9.เมตตาบารมี คือมีจิตปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุขไม่ผูกโกรธใคร ถึงจะถูกตามจองล้างถึงชีวิต ก็ไม่ถือโทษ
ไม่เคืองแค้นใคร เปี่ยมด้วยความปรานีต่อเพื่อนมนุษย์ต่อสัตว์โลกทั้งหลาย คือเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมด
10.อุเบกขาบารมี คือมีความมั่นคงบริสุทธิ์ยุติธรรมเหมือนภูเขาไม่เขยื้อนด้วยแรงลม
ๆ
ทรงบำเพ็ญความดีรักษาความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ เช่นนี้หลายภพหลายชาติ ฉะนั้นบารมีทั้ง 10 ทัศ จึงเพิ่มพูน
มากขึ้นเรื่อย ๆ จากขั้นบารมีเป็นอุปบารมีและปรมัตถบารมี ตามลำดับจนครบถ้วน 30 บุญบารมีหรือที่เรียกว่าบารมี
30 ทัศ ในชาติสุดท้ายที่ท่านเกิดเป็นพระเวสสันดรนั้น ความจริงท่านควรจะ ได้บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว แต่บังเอิญเป็นยุคที่มนุษย์อายุสั้น ท่านจึงหมดอายุเสียก่อน เมื่อละโลกไปแล้ว เนื่องจากท่านสะสม
9