การฝึกสมาธิแบบใส่ใจ วิสุทธิวาจา 3 หน้า 211
หน้าที่ 211 / 220

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิควรทำอย่างสม่ำเสมอ การทำอย่างสบาย ๆ โดยไม่เร่งรีบและไม่บังคับจะช่วยให้จิตใจรักษาความเป็นกลางได้ หากสามารถเข้าถึงดวงปฐมมรรคได้ จะทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยความสุข การใช้กำลังหรือความอยากไม่จำเป็นขณะฝึก ซึ่งจะทำให้จิตหลุดจากศูนย์กลาง และควรเน้นที่ 'อาโลกกสิณ' เพื่อพัฒนาศักยภาพในการเจริญสมาธิและวิปัสสนาได้ต่อไป ตามที่ได้มีการอธิบายไว้ในเนื้อหานี้

หัวข้อประเด็น

- การฝึกสมาธิ
- ความสำคัญของการทำสมาธิ
- วิธีการฝึกสมาธิ
- ข้อควรระวังระหว่างการฝึกสมาธิ
- ความสุขและความสำเร็จจากการฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บิล ๆ จา ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่าง สบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น ซึ่งเป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ดวงปฐมมรรค ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงที่ศูนย์กลางกาย แล้วให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่ง ความ สุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิ ละเอียดอ่อน ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อีกด้วย ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่ บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็ง ตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิต เคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น ๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจาก บริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือน การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิ เจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการนึกถึง “อาโลกกสิณ” คือกสิณความ สว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างแล้วค่อยเจริญวิปัสสนาใน ภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด -๒๐๓-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More