ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระพุทธศาสนามหายาน : เหตุใดคำถามของพระพุทธเจ้ามีความหลากหลาย
Mahayana Buddhism: Reasons for Diversity in the Buddha's Teachings
เขียนเรียงออกมาเป็นภาษาไทย โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอน ดีพิมพ์ผ่านวารสารธรรมธารา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8)3 และฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 9)4 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเมื่อได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผู้แปลเกิดความคิดว่า “น่าจะนำมาผเผยแพร่เป็นภาษาไทย” ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวถึงสมมติฐานเกี่ยวกับ “สาเหตุ” การกำเนิดของ “พระพุทธศาสนมหายาน” เชิงประวัติศาสตร์ ที่อ้างอิงจากการวิจัยในเรื่องนี้ของผู้เขียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมมติฐานใหม่ในวงวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศ
2. ได้บอกเล่าเรื่องราวของ “วัฒนธรรมและความเชื่อมโยงด้านแนวคิด” ที่อยู่ใน “คัมภีร์มหายานยุคต้น” ได้อย่างสอดคล้อง เพราะโดยทั่วไป เวลาที่กล่าวถึงคัมภีร์มหายาน เรามักจะเห็นเพียงเนื้อหาอยู่ในแต่ละคัมภีร์ ศึกษาแบบเอกเทส ไม่มีความเชื่อมโยงกัน แต่หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ให้ความสัมพันธ์ด้านเนื้อหา แนวคิด วิวัฒนาการของการกำเนิดในแต่ละคัมภีร์ให้เห็นประจักษ์
3. เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่ายในรูปแบบของบทสนทนา
____________________________
Masahiro Shimoda (下田正弘), and Fumihiko Sueki (末木文美士), 73-112 (Tokyo: Shunjūsha, 2011).
3 Shizuka Sasaki (佐々木閑), “แนวโน้มและพัฒนาการทฤษฎีการกำเนิดของพระพุทธศาสนามหายาน (1),” แปลโดย พระมหาพงค์ศักดิ์ จินโณ, วารสารธรรมธารา ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8) (มกราคม - มิถุนายน 2562): 1-35.
4 Shizuka Sasaki (佐々木閑), “แนวโน้มและพัฒนาการทฤษฎีการกำเนิดของพระพุทธศาสนามหายาน (2),” แปลโดย พระมหาพงค์ศักดิ์ จินโณ, วารสารธรรมธารา ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 9) (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562): 1-35.