ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมธรรม
วาระสัปดาห์วิชาการทางพระพุทธศาสนา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 10) ปี 2563
จะมีความตื่นเต้นควบคู่ไปกับการสนทนาที่เข้าถึงประเด็น ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นในการเรียนการสอนนั้น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อทางสำนักพิมพ์ NHK ได้เสนอให้ผู้เขียนได้เขียนหนังสือ “วรรณกรรมชื่อดังใน 100 นาที” ผู้เขียนตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องราวดังกล่าวออกมาเป็นรูปแบบของหนังสือ ซึ่งการร้อยเรียงบทสนทนาของบุคคล 2 คนให้ออกมาเป็นตัวหนังสือ นั้นเป็นเรื่องที่ยากอยู่พอสมควร แต่ อย่างไรก็ดีในที่สุดสามารถพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือที่ปรากฏนี้ สำหรับเนื้อหาภายในเล่ม จะได้อธิบายถึงหลักคำสอนของพระศกายมุนี และไฮลักษณะเฉพาะของหลักคำสอนในหมายบทที่ลากหลาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือที่ไม่ค่อยมีปรากฏมากนััก ผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ “ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องนิทานต่างๆ ในพระพุทธศาสนา”
บทที่ 1 จาก “พระพุทธศาสนาของพระศกายมุนี” สู่ “พระพุทธศาสนาหายาน” (ตอนแรก)
พระพุทธศาสนาหายาน ไม่ใช่คำสอนโดยตรงของพระศกายมุนี?
อาจารย์: มีคำกล่าวที่ว่า “ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประชากรมากกว่าครึ่ง เป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาไม่ได้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเลย” แต่ถึงกระนั้น ในความเป็นจริง พวกเราก็ดำรงชีวิตโดยมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง
____________________
6 บทที่ 1 เริ่มจากหน้า 5 เป็นต้นไป
7 ผู้แปล : ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 講師 (koshi) แปลว่า อาจารย์ ผู้สอน ซึ่งในที่นี้หมายถึงตัวเขียน