มัชฌิมาปฏิปทา: แนวทางการปฏิบัติกลาง ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๕๙-๖๙ หน้า 2
หน้าที่ 2 / 43

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่เรียกว่า 'มัชฌิมาปฏิปทา' ซึ่งเป็นการหยุดใจอยู่กลางทั้งในการเกิด การตาย และการตื่น การปฏิบัตินี้สำคัญเพื่อการเข้าถึงศูนย์กลางของกายมนุษย์และการรู้เห็นความจริงในธรรมชาติของขันธ์ ๕ ที่มีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยมีตัวอย่างจากพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติตามเห็นความสำคัญของการหยุดรู้ที่ศูนย์กลาง การใช้ 'ญาณธรรมกาย' ในการรู้และเห็น จนถึงการพัฒนาจิตให้เข้าถึงธรรมกายและพระอรหัตผล ซึ่งถือเป็นการเข้าถึงความสงบและปัญญาที่กลับคืนสู่ธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์.

หัวข้อประเด็น

- มัชฌิมาปฏิปทา
- ธรรมกาย
- การปฏิบัติ
- พระพุทธเจ้า
- ความจริงในขันธ์ ๕

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องเลิกทั้ง ๒ ประการ แล้วเดิน “มัชฌิมาปฏิปทา” “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 197 “กลางอยู่ตรงไหน กลางมีแห่งเดียวเท่านั้นแหละ เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ใจเราก็หยุดอยู่กลาง เมื่อเวลาเราจะหลับ ใจเราก็ต้องไปหยุดกลาง ผิดกลาง หลับไม่ได้ ผิดกลางเกิดไม่ได้ ผิดกลางตายไม่ได้ ผิดกลางตื่นไม่ได้ ต้องเข้า กลาง ถูกกลางละก็เป็นเกิด เป็นหลับ เป็นตื่นกันทีเดียว กลางอยู่ตรงไหน ใน มนุษย์นี่มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์...ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางนั่น แหละได้ชื่อว่ามัชฌิมา พระพุทธเจ้าทรงให้นัยแก่องคุลิมาลว่า “สมณะหยุดแล้ว” คือ หยุดตรงนี้ พอหยุดแล้วก็ตั้งใจที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุดอีก หยุดตรงนี้ตั้งต้นจนถึงพระอรหัตผล หยุดเข้าไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใจเป็นปกติ หยุดนิ่งไม่ขยับ ถูกส่วนกลาง นิ่งนั้น จะเข้าถึงดวงปฐมมรรค หยุดเข้าไปเป็นลำดับถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถึงกายมนุษย์ละเอียดเข้ากลาง 5 ดวงถึงกายต่างๆ จนถึง กายที่ ๙ คือ กายธรรม อันเป็นกายที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็น “กายนอกภพ” และเป็น “พุทธรัตนะ” ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมทำให้เป็นธรรมกาย ซึ่งเป็น “ธรรมรัตนะ” เข้ากลาง 5 ดวงเข้าถึงธรรมกายละเอียด ซึ่งเป็น “สังฆรัตนะ” เมื่อสำเร็จอีก 4 ขั้น ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงแสดงเรื่องนี้ให้แก่พระปัญจวัคคีย์ และแสดงเรื่องของท่านว่า กตมา จ สา ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้น ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน พระองค์ทำความเห็นเป็นปกติ เห็นด้วยตาอะไร ? เห็นด้วยตาธรรมกาย เรียก “จกขุกรณี” แปลว่า ทำให้เห็นเป็นปกติ คือ เห็นความจริง ทั้งหมด หรือ “ญาณกรณี” กระทำความรู้ให้เป็นปกติญาณของท่าน ท่านเห็นอะไร ? เห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสิ่งทั้งปวงมีความเกิด ความดับเสมอ ในมนุษยโลกทั้ง ๘ กายในภพ (กายมนุษย์ - กายอรูปพรหม) มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กาย ๘ กายนี้เห็นเช่นนั้นเองไม่ได้ เพราะยังเป็นขั้นสมถะอยู่ พอถึงกายธรรมถึงขั้นวิปัสสนา ธรรมกายเป็นตัวตถาคตทีเดียว เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วย “ญาณธรรมกาย” เห็นเช่นนี้เรียก วิปัสสนา เห็นเบญจขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา “เห็นอนิจจัง” คือเห็นว่ากายมนุษย์เกิดแล้วก็ตาย ไม่มีหยุด เหมือนไฟที่ไส้ตะเกียง ไฟเก่า ไปไฟใหม่มา ตามนุษย์เห็นแต่ว่าไม่ดับ แต่เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย รู้ชัดหมด เห็น หมดทุกอย่างทั้งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม เมื่อรู้เช่นนี้ย่อมพร้อมเพื่อความสงบ (อุปสมาย) ไม่ยินดีในกามราคะ โทสะ โมหะ ทำให้รู้พร้อม รู้ยิ่ง จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More