อนุโมทนาคาถา และความเคารพในพระพุทธศาสนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๕๙-๖๙ หน้า 4
หน้าที่ 4 / 43

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหาเกี่ยวกับอนุโมทนาคาถาและความเคารพในพระพุทธศาสนา มีความสำคัญในการสร้างผลดีแก่ผู้ที่ปฏิบัติ โดยกล่าวถึง 4 ประการที่เสริมสร้างความเจริญ ได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเคารพจากทุกคนในชุมชน ทั้งภิกษุ สามเณร และอุบาสกอุบาสิกา ให้ดำรงชีวิตตามหลักธรรมอย่างแท้จริง เพื่อการเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้านและการแสวงหาความสุขในชีวิตอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การอนุโมทนา
-ความเคารพระบบพระพุทธศาสนา
-หลักธรรม 4 ประการ
-ประโยชน์จากการเคารพ
-ความสำคัญของศีลและสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 199 bo อนุโมทนาคาถา (ความเคารพ) ๘ มกราคม ๒๔๙๘ นโม... ยถา วาริวหา ปูรา... พระภิกษุท่านทำภัตตานุโมทนา ให้พรเป็นภาษามคธ แปลว่า ยถา วาริวหาฯ ทานที่ท่านให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ท่านผู้ละโลกนี้ไปแล้ว เหมือนห้วงน้ำที่ เต็ม ย่อมไหลไปรวมกันในที่ลุ่ม คลองใหญ่ แม่น้ำ มหาสมุทร แม้ไปในอากาศ ก็ ไปเป็นเมฆจับอยู่ใน พื้นท้องฟ้า ตกลงมาสู่มหาสมุทรอีก ผลที่ท่านปรารถนา จง สำเร็จแก่ท่านโดยพลัน จงเต็มเปี่ยมเหมือนพระจันทร์ หรือแก้วมณีโชติรส สพพีติโย ฯ ขอจัญไรทั้งปวงจงระเหิดหายไป ขอโรคทั้งปวงจงหาย ขออันตรายอย่าเกิดมีแก่ท่านเลย อภิวาทนสีลิสฺสฯ ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้ เป็นนิจ หรือย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่เป็นนิจ ธรรม ๔ ประการ สำคัญนัก ได้แก่ อายุ คือ อายุยืน ไม่ตายในปฐมวัย มัชฌิมวัย วรรณะ คือ ไม่ต้องตกแต่งก็งดงามเป็นนิจ ผิวพรรณงามสมวัย คือ สบายกาย ใจ ทั้ง ๔ อิริยาบถ หลับตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย มีกำลังกายทำงาน จะไปทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ สุขะ พละ คือ กำลังวาจาประกอบงานได้หรือโต้ปัญหาได้ กำลังใจดี ไม่ท้อถอย ไม่ใช่กะลาโขกคิดว่าเป็นงูเห่ากัดสลบคาที่ หรือไฟ ไหม้ กลัวเสียขวัญจนทำอะไรไม่ได้ เหตุในพร ๔ ประการที่จะเจริญแก่ผู้ใดได้ ต้องอาศัยความเคารพ เป็นผู้เคารพกราบไหว้อย่างไร ? - - เราจะต้องเคารพพระพุทธศาสนาจริงๆ ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาให้กลั่นกล้า ไม่ขาดตกบกพร่อง - เป็นภิกษุก็เป็นภิกษุจริง ไม่ทำพิรุธเสียหาย เรื่องสมาธิ ปัญญา ต้องกลั่นกล้า สามเณรมีศีล ๑๐ เคารพหน้าที่สามเณรจริง อุบาสก อุบาสิกา ตั้งมั่นในไตรสรณคมน์ มีศีล ๕ ศีล ๘ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่ขาด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More