ข้อความต้นฉบับในหน้า
226
สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
๖๙
โอวาทปาฏิโมกขาทิปาฐะ
(อุดมการณ์ หลักการ วิธีการ)
นโม.....
อุททิฏฐิ โข เตน ภควตา.....
วันมาฆบูชา ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดง
โอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระสาวก ๑,๒๕๐ รูป ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือเป็นการ
วาง รากฐานของพระพุทธศาสนา พวกเราควรใส่ใจพระโอวาทนี้
“ปาฏิโมกข์” แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องพ้น
ความหมายโอวาทปาฏิโมกข์
ธรรมเป็นเครื่องพ้น ซึ่งเป็นโอวาทของพระบรมศาสดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้รู้แล้ว เห็นแล้วได้ประกาศไว้
ท่านรู้และเห็นอย่างไร ?
ท่านไม่ได้รู้เห็นด้วยตามนุษย์เหมือนเรา แต่รู้เห็นด้วยการหยุดเข้าไปภายในกายที่อยู่ภายใน
ตัว มีเป็นชั้นๆ เข้าไป ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน ถึงกายพระอรหัตละเอียด
เวลาเรานอนหลับฝันไป เพราะกายมนุษย์ละเอียดทำหน้าที่ฝัน ไปรู้มาเล่าให้กายมนุษย์ฟัง
ส่วนใจมนุษย์กายมนุษย์หลับ กายมนุษย์จำจากที่กายมนุษย์ละเอียดไปรู้มาอีกที พอรายงานเสร็จ
กายมนุษย์หยาบก็ตื่น บางทีก็รัวๆ จำได้บ้างไม่ได้บ้าง
เข้าไปถึงกายทิพย์ กายทิพย์ยังมีรู้อีก รู้เห็นไปตามลำดับกายต่างๆ
เข้าถึงพระธรรมกายเรื่อยไปจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายละเอียดของพระอรหัต ท่านเป็นผู้รู้
เห็น จริงด้วยตาธรรมกาย หรือญาณธรรมกาย และเป็นผู้รู้เห็นเอง ท่านทรงรับสั่งว่า องค์นี้เป็นผู้
กล่าว “โอวาทปาฏิโมกข์” เมื่อเห็นจริงรู้จริงก็ได้ทรงแสดงพระคาถา ๓ บท ดังต่อไปนี้
คาถาที่ ๑. ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกขา
ความอดทน คือ ความอดใจ คือ ตบะธรรมอย่างยิ่ง
หญิงหรือชายจะไปนิพพานต้องตั้งอยู่ใน “ความอดทน” คืออดทนและอดใจต่อรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เราชอบใจ วางใจเป็นกลาง เพราะของเหล่านี้เป็นของกลาง ที่มีอยู่แล้ว
เราไม่ใช่เจ้าของ เมื่อเราตายไป ของเหล่านี้ก็ยังอยู่ เหมือนทะเล ป่า ที่ไม่ใช่ของใครคนหนึ่ง ถ้า
อดทนได้อย่างนี้ จึงไปนิพพานได้