ข้อความต้นฉบับในหน้า
222 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
៦៨
ทานานุโมทนากถา (ฉากหลัง)
อังคาร ๓ เมษายน ๒๔๙๙
นโม.....
อนน์ ปานํ วตถ์ ยาน......
โลกนี้เริ่มต้นที่การให้
แม้พระพุทธเจ้าจะไม่อุบัติเกิดขึ้นในโลก ทานวัตถุก็มีการให้กันอยู่แล้ว เพื่อสงเคราะห์กันและ
กัน โลกนี้จึงเริ่มต้นที่การให้
พระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประเทศ หรือตระกูลใหญ่ ยิ่งต้องให้หนัก เพราะการปกครอง
ใหญ่ กว้างออกไป
“ทาน การให้ จำเป็นที่เดียว ต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน....ตระกูลต้องให้ทาน
ในกันและกัน ถ้าไม่ให้ทานในกันและกันละก็ ตระกูลอยู่ไม่ได้ แม้แต่พระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ
ต้องให้ทานในกันและกัน ไม่ให้ทานกันและกันละก็ ปกครองประเทศอยู่ไม่ได้ ยิ่งต้องให้หนัก
พระมหากษัตริย์ต้องให้หนัก ให้ข้าราชบริพารน้อยใหญ่ ต้องให้หนัก เพราะการปกครองใหญ่”
ยกตัวอย่าง พระพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์อุบัติเป็นพระพุทธเจ้า แต่ก่อนทรงอยู่พระองค์เดียว แสวงหาบิณฑบาตจำเพาะ
ท่านพอจะอดทนได้ แม้เมื่อมีปัญจวัคคีย์ พระยส ๕๕ พระราชกุมาร ๓๐ ส่งออกไปประกาศศาสนา
เป็นลำดับ ท่านเหล่านั้นก็ยังพอมีกำลังหาเลี้ยงตัวได้ พอเริ่มถึงชฏิล ๑,๐๐๓ รูป และชาวราชคฤห์
๑๒ นหุต พระองค์จึงต้องเป็นประมุขนำบิณฑบาต เพื่อภิกษุที่เข้ามาบวชหลังๆ ได้เลี้ยงตัว ได้เหมือนท่าน
ทรงสั่งสอนควบคู่กับการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ แต่กระนั้นก็ทรงต้องเอาพระทัยใส่ ในเรื่องการให้ทาน
เสมอ
เมื่อเข้าใจเช่นนี้ คนมีปัญญาจึงให้ทาน ซึ่งถือเป็นประเพณีของคนมีปัญญา
คนมีปัญญาอยู่ในสถานที่ใด หญิงชายก็ดี เป็นใหญ่ในที่นั้น เพราะทาน สงเคราะห์เขาอยู่เสมอ
ไป คนโง่อยู่ที่ไหนจมมืด ไม่ให้ใครเพราะกลัวเปลือง หนักเข้าต้องอยู่คนเดียว เจ็บไข้ไม่มีใครเยี่ยม
คนฉลาด เลี้ยงตัวเอง สร้างตัวเอง ส่งเสริมตัวเองทั้งเป็น
ทานวัตถุ ๑๐ ประการ
ท่านจึงได้บัญญัติไว้เป็น “ทานวัตถุ ๑๐ ประการ” ได้แก่
๑. อนุน “ข้าว” เราให้อาหารเขารับประทาน ให้มาก เขาก็ได้รับความสุขมาก ให้ที่ไหนเป็น
กษัตริย์ในที่นั้น