ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 211
เรายังไม่เห็นธรรมกาย เราก็เริ่มจากวางใจไว้ที่กลางกายมนุษย์ ณ ตำแหน่งศูนย์กลาง กาย
ฐานที่ ๗ หยุดถูกส่วนก็จะเห็นดวงใสไปเป็นลำดับ ดวงเหล่านี้ถ้าแยกคร่าวๆ ออกไปก็เป็น
ดวงศีล เป็น สมมาวาจา สมมากมฺมนฺโต สมมาอาชีโว
ดวงสมาธิ เป็นเนื้อหนังของสมาธิ อยู่ใน สมมาวายาโม สมมาสติ สมมาสมาธิ
ดวงปัญญา แยกเป็น สมมาทิฏฐิ สมมาสงฺกปฺโป รวมเป็นอริยมรรค ๘
ต้องเข้ากลางมาทางนี้ให้ถูกส่วน จนเห็นกายต่างๆ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กาย
พรหม กายอรูปพรหม (ทั้งหยาบและละเอียด) จนถึงกายธรรม กายที่ ๙ ซึ่งเป็นตัวพระตถาคต เป็น
พุทธรัตนะ ที่ยังเป็นโคตรภู ไม่ใช่ชั้นพระอริยบุคคล
ธรรมดวงที่รักษากายต่างๆ ไว้ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายธรรมอรหัต คือธรรมรัตนะ เมื่อเรา
เข้าไม่ถึงธรรมดวงนี้ ก็เข้าถึงกายต่างๆ ไม่ได้
สังฆรัตนะ ก็คือ ธรรมกายละเอียด ที่อยู่ในดวงธรรมของธรรมกาย พระอรหันต์ท่านพบ ธรรม
กายเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ธรรมกายนั้นก็ถือเป็นสังฆรัตนะเช่นกัน
เมื่อเข้าถึงธรรมกาย เราจึงทราบว่า :-
กายธรรม มีญาณเป็นจกฺขุกรณี กระทำให้เห็นเป็นปกติ คือ เห็นตามถูก รู้ตามถูก สิ่งใดสุข
ก็ว่าเป็นสุข ไม่ใช่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ที่ไม่สงบจึงเห็นไม่ปกติ เพราะยัง
ไม่มีญาณ ยังเห็นของไม่จริงเป็นจริง ที่ไม่สวยงามก็ว่าสวยงาม เป็นต้น
เมื่อมีญาณ ย่อมรู้ชัดเหมือนเวลากลางวัน เรียกว่า “อภิญญาย” แปลว่า “รู้ยิ่ง” คือ รู้ยิ่ง
กว่ากายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหม ( ๘ กายในกามภพ )
มีญาณ เรียกว่าเป็น “สมโพธาย” แปลว่า “รู้พร้อม” ไม่มีสิ่งใดที่ไม่รู้
กายธรรมเมื่อเข้าถึงแล้วสงบ เรียกว่า “อุปสมาย”
“นิพพานาย” เพื่อที่จะไปนิพพานอย่างเดียว
ทาง ๒ ทางที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนไม่ให้ไป คือ
๑.
- กามสุขัลลิกานุโยค คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม
๒. อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ได้แก่การทรมานต่างๆ
“เราจะต้องทำใจของตนให้หยุดเสมอ ให้ถูกส่วนเข้า พอหยุดถูกส่วนเข้า
ก็เห็นดวงใส เราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ คือ ยึดพุทธรัตนะ
ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นที่พึ่ง”
“ถ้าไม่เข้าถึง จะปฏิบัติศาสนาสักโกฏิชาติก็ไม่อาจสามารถรู้รสศาสนาได้ จะ
ปฏิบัติไปสักเท่าใดก็ตาม ก็เหมือนกับคนไม่รู้จักเบญจโครสในน้ำนมสด คือไม่รู้
ว่ารสเป็นอย่างไร ? เป็นแต่คล้ายๆ กับคนรับจ้างเขาเลี้ยงโค พอเลี้ยงเสร็จแล้ว
เวลาเย็นก็ไล่โคกลับ รับเอาค่าจ้างที่เลี้ยงไปเท่านั้นเท่านี้ ส่วนน้ำนมโคไม่ได้
รับประทาน เจ้าของเขาเอาไป