ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 207
๖๓
การสุตตกถา
(ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก ๒)
นโม....
ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา...
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง จึงทรงแสดงพระสูตรว่าด้วยภาระอันหนัก
ของสัตว์โลกว่า
ภารา หเว ฯ ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระหนักแท้
ก็บุคคลนำภาระไป
ถือภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก
สัตว์โลกหญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้ามีขันธ์ ๕ เป็นภาระหนัก
ขันธ์ ๕ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป
คือ ร่างกาย
เวทนา คือ
สัญญา คือ
สังขาร คือ
วิญญาณ คือ
ขันธ์ ๕ เป็นการะอย่างไร ?
ความสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส
ความปรารถนาดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว
ความรู้แจ้ง
สัมผัส
เราต้องดูแลรักษาเอาใจใส่อย่างหยุดไม่ได้ ตั้งแต่ตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน หาอาหาร
อุจจาระ ปัสสาวะ อยากจะได้ อยากจะเห็น ก็ต้องหามาให้ นี่เป็นภาระจำเพาะขันธ์ ๕ ของตัว
ผู้ใดไม่พอ ไปหาขันธ์ ๕ มาเพิ่มอีก เป็น ๑๐ ขันธ์ ๒๐ ขันธ์ ฯลฯ ลูกเป็นภาระของพ่อแม่
ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาเป็นภาระของสมภาร ราษฎรเป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ข้าว
ของ แพงเป็นภาระของผู้ปกครองประเทศ
นิกข์ปิตวา ครู ภาร์ ฯ บุคคลวางภาระอันหนักแล้ว
ไม่ฉวยเอาภาระอื่นมาเป็นภาระอีก
เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้
ความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่านิพพานได้
พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วว่า ขันธ์ ๕ เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย เราได้รับความสุขเพราะ
ปล่อยภาระเหล่านี้เสีย ใครปล่อยวางได้ ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติหมดภพ มีนิพพานเป็นที่ไป