ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 219
๖๗
หิริโอตตัปปะ ภาค ๒
นโม.....
หิริโอตตปปสมฺปนฺนา......
ผู้มีใจสงบระงับ (ทิตตา สนฺโต) อันนักปราชญ์กล่าวสรรเสริญแล้ว ประกอบด้วยธรรมอัน
ประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องสงบระงับในโลก ๓ ประการ ดังต่อไปนี้ คือ
Q).
๑. ถึงพร้อมแล้วด้วยความละอาย ความสะดุ้งกลัว
๒. ตั้งอยู่แล้วในธรรมอันขาว
๓. เป็นธรรมเครื่องสงบระงับ
คฤหัสถ์ บรรพชิต เมื่อตั้งอยู่ใน “ไตรสรณคมน์” มีความละอายสะดุ้งกลัว รักษาไว้อยู่
ร่ำไป ธรรมกายย่อมสะอาดผ่องใส แม้ขุ่นมัวด้วยประการใด ก็รีบเร่งแก้ไขให้สะอาด บุคคลนั้นจึง
จะได้ชื่อว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยหิริโอตตัปปะ
๒. ตั้งอยู่แล้วใน “ธรรมอันขาว” ไม่มีเศร้าหมอง
๓. สงบระงับใน “กามคุณ” ทั้ง ๕ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ
เมื่อธรรมกายผ่องใสเช่นนั้น ก็สงบสะอาดสะอ้าน
หย่อนลงมา คือ ตั้งมั่นในศีล ๕ พิจารณาไม่ขาดตกบกพร่อง บริสุทธิ์ในบริสุทธิ์หนักขึ้นไป
ถ้าไม่บริสุทธิ์ ย่อมอายและสะดุ้งกลัวนัก ศีลบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตั้งอยู่ในธรรมขาวส่วนศีล
เมื่อครั้งพระพุทธองค์ตรัสรู้ ทรงพิจารณาว่าจะตรัสเทศนาอย่างไร ให้ปัญจวัคคีย์ได้มรรคผล
โดยฉับพลัน จึงใช้มรรค ๘ เป็นตัวยืนเข้าหาศีล สมาธิ ปัญญา เพราะถ้าใช้ศีลตามลำดับมรรค ท่าน
ปัญจวัคคีย์ก็จะไม่ฟัง เพราะถือว่าชำนาญในศีล สมาธิ อยู่แล้ว
พระองค์ทรงยกเอา “สัมมาทิฏฐิ ” คือความเห็นชอบ “สัมมาสังกัปโป” คือความดำริชอบ
ขึ้นหน้ามรรคอื่นๆ ก่อน
ความเห็น คือเห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
ความดำริ คือดำริจะออกจากกาม จากการไม่พยาบาท จากการไม่เบียดเบียน
ดำริจะออกจากกาม เป็นของลึกซึ้งอยู่ หมดทั้งสากลโลก ไม่ว่าหญิงชายดำริเข้าหากามทั้งนั้น
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ชอบใจ ดำริออกจากกาม แทบจะไม่มีเลย
“เมื่อดำริเข้าไปในกามแล้ว ดำริก็เป็นไปในความพยาบาทเต็มที่ ระวังกาม
หวงกาม ซึ่งกาม เอาล่ะคราวนี้...ความพยาบาทก็มาเต็มที่...ความเบียดเบียนก็
มาเต็มที่ ไม่ให้ใครมาของแคล้วในกามได้ เกิดเรื่องราวยกใหญ่”