ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 217
“ภิกษุบริโภคด้วยความเป็นหนี้ จะต้องตายไปเป็นวัวให้เขาใช้ เป็นควาย
ให้เขาขี่ เป็นม้าให้เขาขี่ เป็นช้างให้เขาขี่ สูงขึ้นไปกว่านั้น ไกลกว่านั้นตายไป
เป็นบ่าวเป็นทาสเขา เป็นมนุษย์มาเป็นบ่าวเป็นทาสเขา มาเป็นคนใช้เขา เขาไม่ใช้
ก็อยากให้เขาใช้นัก ไปทำอาสาเขาเฉยเท่านั้นแหละ เพราะเป็นหนี้เขาแล้ว”
“จีวรนี้สักแต่ว่าเป็นธาตุ เป็นปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ... ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัว
ตนเขาเราใดๆ แล้วก็เป็นของว่างเปล่าไป จีวรนี้เป็นของไม่เน่าไม่เปื่อยน่าดูน่า
ชม ไม่สกปรกเปรอะเปื้อนใดๆ เป็นของดีมาก พอถูกต้องร่างกายกลายเป็นของ
เสียหายไปได้ ไม่น่าดูน่าชมไปได้....พิจารณาจีวรอีก....นั่งเพื่อจะป้องกันเสียซึ่งกาย
หนาวและร้อน เพื่อกันเหลือบ ยุง ตะเข็บ ตะขาบต่างๆ เพื่อจะไม่ให้กามกำเริบ
เท่านั้น...” อย่างอื่นก็พิจารณาแบบเดียวกัน เป็นปัจจัยสันนิสสิตศีล
เมื่อใดเกิดหิริโอตตัปปะ ?
เมื่อศีลข้อไหนเกิดไม่บริสุทธิ์ ย่อมจะละอายตัวเองนัก ต้องรีบหาครูบาอาจารย์ต่อศีล ด้วยการ
เปิดเผยเพราะกลัวการตกนรก มีความสะดุ้งกลัว
สะดุ้งกลัวต่อความบริสุทธิ์ทั้งหมด รวมถึงอริยสัจ ๔ ปาฏิโมกข์ อินทรีย์ จึงได้ชื่อว่า สุกก
ธมฺม สมานิตา และเป็นสนฺโต คือเป็นผู้สงบระงับ
แต่เท่านี้ก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จำต้องปฏิบัติต่อไปคือ
(๒) มั่นอยู่ในไตรสรณคมน์ ด้วยกายวาจาใจ
ด้วยกาย คือ เมื่อผ่านเจดีย์วิหาร พระภิกษุสามเณร ย่อมแสดงความเคารพ ทำความสะอาด
สถานที่ที่เคารพและปฏิบัติวัฏฐาก
ด้วยวาจากล่าวสาธุการ
ด้วยใจที่อ่อนน้อม
นี้เป็นเพียงมั่นในไตรสรณคมน์ ที่ลึกซึ้งกว่านั้น คือ การเข้าถึงไตรสรณคมน์
“ไตร” แปลว่า สาม
“สรณะ” แปลว่า
dd
ทพง
ที่พึ่งทั้งสามอย่าง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
การเข้าถึงทำได้ยาก เพราะเข้าเป็นชั้นๆ ไป
ตั้งแต่เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด จนถึงกายอรูปพรหมละเอียดเสียก่อน จึงเข้าถึงธรรมกาย
ได้ชื่อว่าถึง “ไตรสรณคมน์” ไม่ว่ากลางวันกลางคืน ในอิริยาบถ ๔ นึกเห็นเสมอ เป็นขั้นที่ ๑
แล้วจึงเข้าไปจนถึงขั้นที่ ๒ คือ กายพระโสดา - โสดาละเอียด
๓ คือ กายพระสกทาคา - สกทาคาละเอียด
๔ คือ กายพระอนาคา - อนาคาละเอียด
๕ คือ กายพระอรหัต - อรหัตละเอียด
“นี่ในพระพุทธศาสนานิยมอย่างนี้ ไม่ใช่แต่เพียงว่าทำกันเล็กๆ น้อยๆ ละ
ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ ไม่ใช่เช่นนั้น เอาจริงๆ ปฏิบัติจริงๆกัน ได้จริงๆ กัน
ถ้าได้จริงๆ มารไม่ขัดขวาง เหาะเหินเดินอากาศได้จริงๆ นะ ไม่ใช่ของพอดี
พอร้าย"